วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่5


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5


1.จงบอกจุดประสงค์ของการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระยะแรกเกิดจากสาเหตุใด

ตอบ  จุดประสงค์ของการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ใช้ในสมัยแรก ๆ นั้น เพื่อให้คอมพิวเตอร์ได้ทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ได้ เช่น การคำนวณเลข ซึ่งถ้าเป็นตัวเลขจำนวนมาก ๆ มนุษย์จะใช้เวลาในการคำนวณมากและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้มาก ในขณะที่คอมพิวเตอร์สามารถคำนวณได้เร็วกว่ามาก อีกทั้งยังมีความแม่นยำและมีความผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์มาก การทำงานจะให้มีประสิทธิภาพสูงจะ ต้องทำเป็นหมู่คณะ หรือทีมเวิร์ค (Teamwork) คอมพิวเตอร์ก็ซึ่งถูกสร้างมาเพื่อทำงานแทนมนุษย์ก็จำเป็นที่ต้องมีการสื่อ สารซึ่งกันและกันเช่นกัน ฉะนั้นคอมพิวเตอร์เครื่องใดที่ไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องอื่นก็เปรียบ เสมือนคนที่ชอบความสันโดษ ในการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายนั้น เป็นสาเหตุที่เนื่องมาจากการที่ผู้ใช้ต้องการทำงานเป็นกลุ่มหรือทีม ซึ่งการทำงานแบบนี้ย่อมมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานแบบเดี่ยว ๆ 



2. จงบอกความเป็นมาของการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


ตอบ  อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
การ เชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่าย คอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
- กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ 
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย 
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ 
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
- มหาวิทยาลัยมหิดล 
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี 
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ 
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

เดือน ธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสง เพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ "ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภาย ในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณ อุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้ เครือข่ายได้

3. จงยกตัวอย่างองค์กรที่ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในเชิงธุรกิจ มีอะไรบ้าง 
และมี URL ว่าอย่างไร



ตอบ  Ji-Net 

บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนต จำกัด 

บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนต จำกัด เป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ (Internet Service Provider) ชั้นนำในประเทศ โดยการร่วมทุนของ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (กสท.) โดยใช้ชื่อบริการว่า “Ji-NET” โดยมีบริการประเภทต่าง ๆ เช่น การให้บริการอินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual), บริการอินเตอร์เน็ตสำหรับหน่วยงาน/องค์กร (Corporate), บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านวงจรคู่สายเช่า (Ji-NET Leased-Line Internet), บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet), การให้บริการรับฝากข้อมูล (Data Center), บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม iPSTAR 

นอก จากนี้ บริษัทฯ ยังเป็นผู้ริเริ่มให้บริการ BranchConnext บริการเชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขา ด้วยโครงข่ายการสื่อสาร ADSL และเทคโนโลยีเครือข่ายส่วนบุคคล VPN เพื่อสร้างเสริมศักยภาพให้กับธุรกิจ โดยบริษัทได้รับความไว้วางใจและการยอมรับจากหลากหลายผู้นำทางธุรกิจ ลูกค้าที่บริษัทฯได้ให้บริการติดตั้งเครือข่ายไปแล้วได้แก่ MK Restaurant, เทเวศร์ประกันภัย, ปูนซีเมนต์, และ เชลล์ ออโต้เซิร์ฟ เป็นต้น 
http://www.ji-net.com/ 



4. จงบอกชื่อองค์กรที่รับผิดชอบในการบริหารและจัดการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตว่าชื่ออะไรบ้าง และทำหน้าที่อะไร


ตอบ  ผู้ ให้บริการอินเทอร์เน็ต ISP (Internet Service Provider) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต บริษัทผู้ติดตั้งอุปกรณ์ในประเทศไทย โดยการดำเนินการให้บริการดังกล่าว บริษัทต้องปฎิบัติตาม เงื่อนไขต่างๆที่กำหนดในสัญญา ตลอดจนปฎิบัติตามกฎหมายมติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และ นโยบาย ของ กสท. 
ปัจจุบันนี้ ISP ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการได้ตามกฎหมายมี 20 ราย ตามรายชื่อต่อไปนี้ 

1. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) 
2. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด 
3. แปซิฟิค อินเทอร์เน็ต ( เวิลด์เน็ท ) ( ประเทศไทย ) จำกัด 
4. จัสมินอินเทอร์เน็ต จำกัด 
5. เอ-เน็ต จำกัด 
6. อี-ซี่ เน็ท จำกัด 
7. สามารถอินโฟเน็ต จำกัด 
8. บริษัท อินเทอร์เน็ต เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด 
9. ดาต้าลายไทย จำกัด 
10. ฟาร์อีสท์ อินเทอร์เน็ต จำกัด 
11. บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด 
12. เอเชียอินโฟเน็ต จำกัด Ltd. 
13. ริช คอมมูนิเคชั่นส์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย ) 
14. เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต จำกัด 
15. ชมะนันทน์ เวิลด์เน็ท จำกัด 
16. บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) 
17. บริษัท โอทาโร จำกัด 
18. บริษัท โปรอิมเมจ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด 
19. บริษัท KIRZ จำกัด 
20. บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 
ตัวอย่าง

ไอเน็ต ผู้นำบริการด้วยความเชี่ยวชาญที่คุณมั่นใจ 

บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือไอเน็ต (INET) เป็นผู้นำการบริการทางไอซีที ที่ประสบความสำเร็จในด้านการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และบริหารเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ รวมทั้งบริการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบการชำระเงินออนไลน์ที่มีความปลอดภัยสูง แก่องค์กรธุรกิจและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ โดยมีการพัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านบริการไอที จึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งมียอดขายรวมกันถึงปีละ 1.5 ล้านล้านบาท 
ไอเน็ต ผู้นำบริการด้วยความเชี่ยวชาญที่คุณมั่นใจ 

บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือไอเน็ต (INET) เป็นผู้นำการบริการทางไอซีที ที่ประสบความสำเร็จในด้านการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และบริหารเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ รวมทั้งบริการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบการชำระเงินออนไลน์ที่มีความปลอดภัยสูง แก่องค์กรธุรกิจและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ โดยมีการพัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านบริการไอที จึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งมียอดขายรวมกันถึงปีละ 1.5 ล้านล้านบาท 

ANET 
บริษัท เอเน็ต จำกัด 
เอเน็ต ให้บริการเชื่อมต่อสู่อินเทอร์เน็ตโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักคือ 
- บริการรายบุคคล 
เป็นบริการที่เหมาะกับสมาชิกรายบุคคล หรือ องค์กรขนาดย่อม 
- บริการระดับองค์กร 
เป็นบริการที่เหมาะสำหรับองค์กรระดับกลาง 
ขึ้นไป ซึ่งมีบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่องค์กรต่างๆ 
โดยแบ่งการบริการเป็นแบบ Dial-in, ADSL, 
ISDNCorporate Leased Line 



5. จงบอกจุดมุ่งหมายของการใช้หมายเลข IP Address และชื่อโดเมน


ตอบ  IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด?ตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1? เป็นต้น

การ สื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครือง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง 

แบบฝึกหัดท้ายบทีที่4


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4
1.จงบอกองค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์และหน้าที่ของแต่ละองค์ประกอบ
ตอบ = องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่

1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น 
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่ง สามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น


2.จงเปรียบเทียบความแตกต่างของสัญญาณอนาล็อก กับสัญญาณดิจิตอล

ตอบ= สัญญาณ อนาลอก (Analog Signal) หมายถึงสัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuouse Data) มีขนาดของสัญญาณไม่คงที่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป กล่าวคือต้องแปรผันตามเวลา โดยทั่วไปคือสัญญาณที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ เช่น แรงดันของน้ำ ค่าของอุณหภูมิ หรือความเร็วของรถยนต์ เป็นต้น สัญญาณดิจิตัล (Digital Signal) หมายถึงสัญญาณข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) มีขนาดของสัญญาณคงที่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณเป็นแบบทันที ทันใด กล่าวคือ ไม่แปรผันตามเวลา โดยทั่วไปคือสัญญาณที่มนุษย์ไม่สามารถสัมผัสได้ เช่น สัญญาณไฟฟ้า เป็นต้น
3.จงบอกทิศทางของการสื่อสารข้อมูลว่ามีกี่แบบ อะไรบ้างพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ=3 แบบ คือ
1. แบบทิศทางเดียว 
2. แบบกึ่งสองทิศทาง 
3. แบบสองทิศทาง 

4.จงบอกคุณสมบัติของสายสัญญาณว่ามีกี่ชนิดอะไรบ้าง พร้อมให้จัดลำดับสายสัญญาณที่มีคุณภาพจากสูงไปต่ำ

ตอบ=แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ 
(1) สายสายโคแอ็กเซียล (Coaxial Cable)เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้ และนิยมมากในครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยแรกๆ แต่ในปัจจุบันเครือข่ายส่วนใหญ่จะใช้สายคู่เกลียวบิตและสายใยแก้วนำแสง สายโคแอ็กซ์
สายโคแอ็กเซียล (Coaxial Cable) เรียกสั้นๆว่าสาย (Coax) จะมีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ มีความหมายว่า “มีแกนร่วมกัน” ซึ่งชื่อก็บอกความหมายว่าตัวนำทั้งสองตัวมีแกนฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแผ่นโลหะบางๆ หรืออาจจะเป็นใยโลหะที่ถักเปียหุ้มชั้นหนึ่ง สุดท้ายก็หุ้มด้วยฉนวนและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ รูปที่ 2.13 แสดงโครงสร้างของสายโคแอ็กเซียล โดยทั่วๆไป
(2) สายคู่เกลียวบิต (Twisted Pairs) เมื่อก่อนเป็นสายสัญญาณที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นมาตรฐานสัญญาณที่เชื่อมต่อในเครือข่ายแบบท้องถิ่น (LAN) สายคู่เกลียวบิตหนึ่งคู่ประกอบด้วยสายทองแดงขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 0.016-0.035 นิ้ว หุ้มด้วยฉนวนบิตเป็นเกลียวเป็นคู่ การบิตเป็นเกลียวของสายแต่ละคู่เพื่อช่วยลดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนซึ่งกัน และกัน
5.จงบอกหน้าที่ของอุปกรณ์เครือข่ายต่อไปนี้

ตอบ 5.1 Repeater
=Repeater เป็นอุปกรณ์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่าง Segment ของสายสัญญาณ LAN เข้าจังหวะและสร้างสัญญาณ Digital บนสายสัญญาณขึ้นใหม่ และส่งออกไป
5.2 Bridge
=Bridge ใช้เพื่อยืดระยะเครือข่าย และแบ่งแยกการจราจรของข้อมูลใน Segment โดย Bridge ส่งต่อการจราจรของข้อมูลจากระบบสายสัญญาณหนึ่ง ก็ต่อเมื่อมี Address ปลายทาง ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์บนระบบสายสัญญาณอีกเส้น ดังนั้นจึงเป็นการจำกัดการจราจรของข้อมูลที่ไม่จำเป็นบนทั้งสองระบบ
5.3 Switch
=Switch มีหน้าที่ในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง โดยมีหลักการทำงานดังนี้ เมื่อคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกับ Switch ใน Port ที่ 1 ต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ใดๆ ในเครือข่ายแล้วนั้น คอมพิวเตอร์ตัวแรกก็จะสร้าง Frame ของข้อมูลขึ้นมาโดยจะประกอบด้วย MAC Address, IP Address ของตัวมันเอง ซึ่งเป็นผู้ส่งและ IP Address ของปลายทางคือคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อ แต่จะยังไม่มี MAC Address ของคอมพิวเตอร์ปลายทาง นำมาประกอบกันเป็น Frame ต่อจากนั้นจะใช้ Protocol ARP ที่มีอยู่ใน Protocol TCP/IP ในการค้นหา MAC Address ของ คอมพิวเตอร์ปลายทาง ที่มันต้องการจะติดต่อด้วย โดย Protocol ARP จะทำการ Broadcast Frame นี้ไปยังทุก Port ของ Switch เรียกว่า ARP Request เมื่อคอมพิวเตอร์ที่มี IP Address ตรงกับ IP Address ที่ต้องการติดต่อทราบ ก็จะตอบกลับว่านี่เป็น IP Address ของฉัน ก็คือคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ต้องการติดต่อ มันจะตอบกลับพร้อมกับใส่ค่า MAC Address ของมันลง ใน ARP Reply ในแบบ Broadcast ด้วย ซึ่งจะทำให้ Switch รับทราบด้วย ต่อจากนั้น Switch ก็จะทำการ Forward ข้อมูลต่างๆ ไปยัง Port ที่เป็นที่อยู่ของคอมพิวเตอร์ทั้งสองได้อย่างถูกต้อง และ Switch จะยังเก็บเอาข้อมูลของ Mac Address ต้นทางของทั้งสองเอาไว้ในตาราง Source Address Table ( SAT ) เพื่อเก็บเอาข้อมูล MAC Address กับ Port ที่ติดต่อไว้ใช้ในการสื่อสารที่จะเกิดขึ้นต่อไป
5.4 Gateway
เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gatewayในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ gateway ยังรวมถึง router และ switch

6.จงเปรียบเทียบข้อดี ข้อจำกัดของโทโพโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส ( Bus ) กับแบบ
วงแหวน ( Ring)

ตอบ=เครือข่ายแบบบัส (Bus Topology)
ข้อดี คือ สามารถจัดการได้ทั้งเครือข่ายแบบ client/server และแบบ peer-to-peer
ข้อจำกัด คือ จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของ สัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้
เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology)
• ข้อดี ข่าวสารจะเคลื่อนที่เป็นลำดับไปในทิศทางเดียว ขจัดปัญหาการชนกันของสัญญาณ
ข้อจำกัด ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย อาจทำให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้ 

7. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างเครือข่ายในระดับกายภาพ ( Physical level ) และระดับตรรก 
(Logical level )
การรับ-ส่งข้อมูลในระดับกายภาพ

ตอบ=เครือข่ายส่วนใหญ่ที่พบเห็นกัน จะใช้สายเคเบิลเส้นทางให้ข้อมูลวิ่งผ่านไปผ่านมา เนื่องจากมีราคาไม่แพง ติดตั้งง่าย และมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูง
แต่บางครั้งก็อาจจะมีการผสมผสานสื่อบางตัวเข้าไปในระบบด้วย เช่น คลื่นวิทยุ เพื่อแก้ไขปัญหาจุดที่อาจเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิลได้ลำบาก
ระดับตรรก
โครงสร้างเครือข่ายระดับตรรกเป็นการมองที่วิธีการวิ่ง ของข้อมูลภายในเครือข่ายว่าเป็นอย่างไร โครงสร้างเครือข่ายระดับตรรกแบบหนึ่งอาจจะรับ-ส่งไฟล์ขนาดใหญ่ได้ดี แต่อีกแบบหนึ่งอาจจะเหมาะในการรับ-ส่งไฟล์ขนาดเล็กที่วิ่งไปมาบ่อยๆ ได้ดี
8.จงอธิบายความแตกต่างของลักษณะการให้บริการเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer และ
แบบ Client-Server

ตอบ=Peer-to-peer (P2P) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ client-client โดยที่ client แต่ละเครื่องมีข้อมูลเก็บอยู่ และสามารถจำลองตนเองเป็น server เพื่อเปิดให้ client เครื่องอื่นๆ สามารถเข้ามาโหลดข้อมูลจากเครื่องของตนเองได้โดยอาศัยพลังงานและ bandwidth ที่เครื่องตนเองมี ซึ่งจะแตกต่างกับการสื่อสารแบบ client-server ที่มี server เก็บข้อมูลไว้เพียงเครื่องเดียว และเปิดให้ client เครื่องอื่นเข้ามาโหลดข้อมูล
ระบบเครือข่ายแบบนี้จะมีคอมพิวเตอร์หลักอยู่หนึ่งเครื่อง เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ (server) หรือ เครื่องแม่ข่าย ทำหน้าที่เก็บข้อมูล โปรแกรม และแชร์ไฟล์หรือโปรแกรมนั้นให้กับเครื่องลูกข่าย อีกทั้งยังทำหน้าที่ประมวลผล และส่งผลลัพธ์ที่ได้ไปให้เครื่องลูกข่าย ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในเครือข่ายที่ร้องขอ เข้ามา รวมทั้งเป็นยังผู้จัดการดูแลการจราจรในระบบเครือข่ายทั้งหมด
เครื่อง คอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย จะสามารถเข้าใช้งานไฟล์ต่าง ๆ ในเซิร์ฟเวอร์ได้ แต่ไม่สามารถเข้าใช้งานไฟล์ในเครื่องอื่นๆ ได้ นั่นคือการติดต่อกันระหว่างเครื่องต่างๆ จะต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เครื่องผู้ใช้จะทำการประมวลผลในงานของตนเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ในการให้บริการกับเครื่องอื่นๆ ในระบบ
เซิร์ฟเวอร์จะต้องมีหน่วยความจำสำรอง (harddisk) ขนาดใหญ่เพื่อเก็บข้อมูลทั้งหมด และควรเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง ชนิดของเซิร์ฟเวอร์มีได้ 2 รูปแบบคือ
(1) Dedicated server หมาย ถึง เซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่บริการอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในงานทั่วๆ ไปได้ ข้อดีคือทำให้ระบบมีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพสูง ข้อเสียคือไม่สามารถใช้งานเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงได้
(2) Non-dedicated server หมาย ถึง เซิร์ฟเวอร์ที่สามารถใช้งานได้ตามปกติเหมือนเครื่องลูกข่าย ซึ่งมีข้อเสียที่สำคัญคือประสิทธิภาพของเครือข่ายจะลดลง ทำให้วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมในการใช้งาน

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่3


แบบฝึกหัดบทที่3

                           แบบฝึกหัดบทที่3

ความรู้เรื่องไฮเปอร์มีเดีย

1. งานของไฮเปอร์มีเดีย
    1.1 การสืบค้น (Browsing) ใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาหรือสืบไปในข้อมูลสารสนเทศหรือบท เรียนต่างๆ โดยผู้ใช้สามารถ สำรวจเลือกเส้นทางวิธีการขั้นตอนการเรียนรู้ตามความพอใจหรือตามแบบการเรียน (Leaning-Style) ของแต่ละคน ทั้งนี้เป็นไป ภายใต้เงื่อนไขที่โปรแกรมหรือบทเรียน ไฮเปอร์มีเดียกำหนดไว้
   1.2 การเชื่อมโยง (Linking) ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงไปยัง แฟ้มข้อมูลต่างๆ ภายในระบบเดียวกัน ตลอดจนการเชื่อมต่อไปยัง เครือข่ายภายนอก เช่นการเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต (Intranet) อินเตอร์เน็ต (Internrt) เป็นต้น
    1.3 สร้างบทเรียน (Authoring) หรือสร้างโปรแกรมการนำเสนอรายงานสารสนเทศต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีลักษณะ พิเศษ น่าสนใจเนื่องจากสามารถแสดงให้เห็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง และการเคลื่อนไหวดังกล่าวมาแล้ว การสร้างบทเรียนแบบ ไฮเปอร์มีเดียโดยทั่วไป ปัจจุบันอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) สำหรับการสร้างโดยเฉพาะ ซึ่งมีใช้กันอยู่หลายโปรแกรม เช่น Hypercard,Hyper Studio,Authoware,Tooolbook,Linkway,Micro Wold, Dreamweaver PowerPoint  เป็นต้น สำหรับโปรแกรมที่นิยมใช้ ในประเทศไทย ได้แก่ Authoware,Toolbook Dreamweaver PowerPoint

2. ข้อมูลไฮเปอร์มีเดีย
    เป็นการใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอข้อมูลหรือเนื้อหาความรู้ต่างๆ ทั้งในรูปของ ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงไปมาระหว่างส่วนต่างๆ ของบทเรียนได้อย่างรวดเร็วตามต้องการ ไฮเปอร์มีเดียเป็นการขยายแนวความคิดมาจากไฮเปอร์เทกซ์ อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่สามารถประสมประสานสื่อหรืออุปกรณ์หลายอย่าง(Multiple media) ให้ทำงานไปด้วยกันซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า มัลติมีเดีย (Multimedia)

3. โปรแกรมงานไฮเปอร์มีเดีย

   การจัดทำสื่อหลายมิติ จัดทำโดยใช้กระบวนการของสื่อประสมในการผลิตเรื่องราวและบทเรียนต่าง ๆ ในรูปลักษณะและวิธีการของข้อความหลายมิติ นั่นเอง โดยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นศูนย์ กลางการเขียนเรื่องราว ซึ่งมีโปรแกรมที่นิยมใช้ หลายโปรแกรมแต่ที่รู้จักกันดี เช่น ToolBook AuthorWare Dreamweaver PowerPoint เป็นต้น
                                     
4. โปรแกรม Toolbook ของไฮเปอร์มีเดีย 

     โปรแกรม Asymetrix Toolbook II เป็น โปรแกรมที่ได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ สามารถใช้ภาพ เสียง ตัวอักษร และการเคลื่อนไหวได้อย่างสมบูรณ์ มีโปรแกรมบันทึกและตัดต่อเสียง ให้มาพร้อมกับโปรแกรมหลัก เหมาะสำหรับการสร้างงานแบบไฮเปอร์มีเดีย เช่น บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หรือการนำเสนอสารสนทเศต่างๆ ตั้งแต่ระดับง่ายๆ ไปจนถึงงานที่ซับซ้อน แนวคิดพื้นฐานของ Toolbook พอสรุปได้ดังนี้
1. งานของ Toolbook เปรียบเสมือนหนังสือ (Books) ซึ่งหนังสือเล่มหนึ่งๆ ประกอบด้วยหน้าหนังสือหลายๆ หน้า และหน้า หนังสือประกอบไปด้วยพื้นหลัง (Background) และหน้า (Page) หรือพื้นหน้า (Foreground) ซึ่งพื้นหน้าของหน้าหนึ่งๆ มีลักษณะ เหมือนแผ่นพลาสติกโปร่งใส ซ้อนกันหลายๆ แผ่น
2. เป็นโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented) ซึ่งหมายความว่าการสร้าง จะต้องสร้างวัตถุต่างๆ และนำมาประกอบกัน วัตถุของ Toolbook ประกอบด้วย หน้า(Page) พื้นหน้า (Foreground) พื้นหลัง (Background) โดยหน้าทั้งหทดที่สร้างขึ้นจะรวมกันเป็น หนังสือ (Book) นอกจากนี้วัตถุแต่ละตัวจะมีการทำงานที่เป็นอิสระต่อกัน โดยแต่ละตัวมีคุณสมบัติเฉพาะตัว (Properties) ให้ผู้สร้างสามารถปรับแต่งคุณสมบัติต่างๆ ได้ตามเหมาะสม
3. โปรแกรมกระตุ้นโดยเหตุการณ์ (Event-Driven Program) คือโปรแกรมจะทำงานหรือเกิดการกระทำ (Action)ใดๆ ขึ้นนั้น จะต้องมีเหตุการณ์ (Event) ใดเหตุการณ์หนึ่ง เกิดขึ้นก่อนเป็นตัวเริ่มต้น เช่น เมื่อผู้ใช้กดปุ่ม คลิกเมาส์ หรือเปิกหน้าใหม่ เป็นต้น โดยผู้สร้างสามารถกำหนดสคริปต์เพื่อให้วัตถุต่างๆ หรือแม้แต่ข้อความ ให้ทำงานตามอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างต้องการ
4. ใช้สคิปต์ (Open Script Programming Language) คือ การเขียนโปรแกรมให้ทำงานตามคำสั่ง สคริปต์ที่ใช้เป็นภาษา อังกฤษที่เข้าใจง่าย ซึ่งการเขียนสคริปต์ใน Toolbook นั้น มีตั้งแต่คำสั่งขั้นพื้นฐาน จนถึงชุดคำสั่งที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน
5. ปรับเปลี่ยนสถานะไปมาระหว่างสถานะผู้สร้าง (Author) และ สถานะผู้ใช้ (Reader) ได้ทันที ดังนั้นในการสร้างงาน จึงสามารถตรวจสอบการทำงานไปพร้อมกันในขณะที่สร้าง

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2



แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 2

1. จงอธิบายลักษณะของข้อมูลที่ดีว่ามีองค์ประกอบอะไรบ้าง

1. ความถูกต้องแม่นยำ (accuracy) ข้อมูลที่ดีควรจะมีความถูกต้องแม่นยำสูง หรือถ้ามีความคลาดเคลื่อน (errors) ปนอยู่บ้าง ก็ควรที่จะสามารถควบคุมขนาดของความคลาดเคลื่อนที่ปนมาให้มีความคลาดเคลื่อน น้อยที่สุด
2. ความทันเวลา (timeliness) เป็นข้อมูลที่ทันสมัย (up to date) และทันต่อความต้องการของผู้ใช้ ถ้าผลิตข้อมูลออกมาช้า ก็ไม่มีคุณค่าถึงแม้จะเป็นข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำก็ตาม
3. ความสมบูรณ์ครบถ้วน (completeness) ข้อมูลที่เก็บรวบรวมมาต้องเป็นข้อมูลที่ให้ข้อเท็จจริง (facts) หรือข่าวสาร (information) ที่ครบถ้วนทุกด้านทุกประการ มิใช่ขาดส่วนหนึ่งส่วนใดไปทำให้นำไปใช้การไม่ได้
4. ความกะทัดรัด (conciseness) ข้อมูลที่ได้รับส่วนใหญ่จะกระจัดกระจาย ควรจัดข้อมูลให้อยู่ใน รูปแบบที่กระทัดรัดไม่เยิ่นเย้อ สะดวกต่อการใช้และค้นหา ผู้ใช้มีความเข้าใจได้ทันที
5. ความตรงกับความต้องการของผู้ใช้ (relevance) ข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาควรเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ ข้อมูลต้องการใช้ และจำเป็นต้องรู้ / ทราบ หรือเป็นประโยชน์ต่อการจัดทำแผน กำหนดนโยบายหรือตัดสินปัญหาในเรื่องนั้นๆ ไม่ใช่เป็นข้อมูลที่จัดทำขึ้นมาอย่างมากมาย แต่ไม่มีใครต้องการใช้หรือไม่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ข้อมูล
6. ความต่อเนื่อง (continuity) การเก็บรวบรวมข้อมูล ควรอย่างยิ่งที่จะต้องดำเนินการอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องในลักษณะของอนุกรมเวลา (time-series) เพื่อจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในด้านการวิเคราะห์วิจัยหรือหาแนวโน้มในอนาคต

2. จงอธิบายองค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล พร้อมทั้งยกตัวอย่างระบบฐานข้อมูลที่ใช้ใน
ชีวิตประจำวัน

ระบบฐานข้อมูลส่วนใหญ่เป็นระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการจัดเก็บ ข้อมูลโดยมีซอฟแวร์หรือโปรแกรมช่วยในการจัดการข้อมูลเหล่านี้เพื่อให้ได้ ข้อมูลตามผู้ใช้ต้องการ องค์ประกอบของระบบ



ฐานข้อมูล แบ่งออกเป็น 5 ประเภท คือ
1. ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )
2. ซอฟท์แวร์(Software)
3. ข้อมูล ( Data )
4. บุคลากร ( People )
5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ( Procedures )

ฮาร์ดแวร์ ( Hardware )
ในระบบฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพควรมีฮาร์ดแวร์ต่าง ๆ ที่พร้อมจะอำนวยความสะดวกในการบริหารระบบงานฐานข้อมูลได้อย่างมี ประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นขนาดของหน่วยความจำ ความเร็วของหน่วยประมวลผลกลาง อุปกรณ์นำเข้าและออกรายงาน รวมถึงหน่วยความจำสำรองที่รองรับการประมวลผลข้อมูลในระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ


ซอฟท์แวร์(Software)
ในการประมวลผลฐานข้อมูลอาจจะใช้โปรแกรมที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ว่าเป็นแบบใด โปรแกรมที่ทำหน้าที่การสร้าง การเรียกใช้ข้อมูล การจัดทำรายงาน การปรับเปลี่ยนแก้ไขโครงสร้าง การควบคุม หรือกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า ระบบจัดการฐานข้อมูล
( Database Management System ) คือโปรแกรมหรือซอฟท์แวร์ที่ทำหน้าที่ในการจัดการฐานข้อมูลโดยจะเป็นสื่อกลางระหว่างผู้ใช้ และโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ในฐานข้อมูล



ข้อมูล ( Data )
ฐานข้อมูลเป็นการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลให้เป็นศูนย์กลางข้อมูลอย่างเป็นระบบ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้
สามารถใช้ร่วมกันได้ ผู้ใช้ข้อมูลในระบบฐานข้อมูล จะมองภาพข้อมูลในลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น ผู้ใช้บางคนมองภาพของข้อมูลที่ถูกจัดเก็บไว้ในสื่อเก็บข้อมูลจริง ( Physical Level ) ในขณะที่ผู้ใช้บางคนมองภาพข้อมูลจากการใช้งานของผู้ใช้ ( External Level )


บุคลากร ( People )
ผู้ใช้ทั่วไป เป็นบุคลากรที่ใช้ข้อมูลจากระบบฐานข้อมูล เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงได้ เช่น ในระบบข้อมูลการจองตั๋วเครื่องบิน ผู้ใช้ทั่วไป คือ พนักงานจองตั๋ว


ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ( Procedures )
ในระบบฐานข้อมูลควรมีการจัดทำเอกสารที่ระบุขั้นตอนการทำงานของหน้าที่การงานต่าง ๆ ใน
ระบบฐานข้อมูล ในสภาวะปกติ และในสภาวะที่ระบบเกิดปัญหา ( Failure ) ซึ่งเป็นขั้นตอนการปฏิบัติงานสำหรับบุคลากรทุกระดับขององค์กร



3. จงอธิบายประโยชน์ของระบบจัดการฐานข้อมูล

ในปัจจุบันองค์กรส่วนใหญ่หันมาให้ความสนใจกับระบบฐานข้อมูลกันมาก เนื่องจากระบบฐานข้อมูลมีประโยชน์ดังต่อไปนี้
1.ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล
เนื่องจากการใช้งานระบบฐานข้อมูลนั้นต้องมีการออกแบบฐานข้อมูลเพื่อให้มีความซ้ำซ้อนของข้อมูลน้อยที่สุด จุดประสงค์หลักของการออกแบบฐานข้อมูลเพื่อการลดความซ้ำซ้อน สาเหตุที่ต้องลดความซ้ำซ้อน เนื่องจากความยากในการปรับปรุงข้อมูล กล่าวคือถ้าเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนกันหลายแห่ง เมื่อมีการปรับปรุงข้อมูลแล้วปรับปรุงข้อมูลไม่ครบทำให้ข้อมูลเกิดความขัดแย้งกันของข้อมูลตามมา และยังเปลืองเนื้อที่การจัดเก็บข้อมูลด้วย เนื่องจากข้อมูลชุดเดียวกันจัดเก็บซ้ำกันหลายแห่งนั่นเอง
ถึงแม้ว่าความซ้ำซ้อนช่วยให้ออกรายงานและตอบคำถามได้เร็วขึ้น แต่ข้อมูลจะเกิดความขัดแย้งกัน ในกรณีที่ต้องมีการปรับปรุงข้อมูลหลายแห่ง การออกรายงานจะทำได้เร็วเท่าใดนั้นจึงไม่มีความหมายแต่อย่างใด และเหตุผลที่สำคัญอีกประการหนึ่งคือปัญหาเรื่องความขัดแย้งกันของข้อมูลแก้ไขไม่ได้ด้วยฮาร์ดแวร์ ขณะที่การออกรายงานช้านั้นใช้ความสามารถของฮาร์ดแวร์ช่วยได้
2.รักษาความถูกต้องของข้อมูล
เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลสามารถตรวจสอบกฎบังคับความถูกต้องของข้อมูลให้ได้ โดยนำกฎเหล่านั้นมาไว้ที่ฐานข้อมูล ซึ่งถือเป็นหน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูลที่จะจัดการเรื่องความถูกต้องของข้อมูลให้แทน แต่ถ้าเป็นระบบแฟ้มข้อมูลผู้พัฒนาโปรแกรมต้องเขียนโปรแกรมเพื่อควบคุมกฎระเบียบต่างๆ(data integrity) เองทั้งหมด ถ้าเขียนโปรแกรมครอบคลุมกฎระเบียบใดไม่ครบหรือขาดหายไปบางกฎอาจทำให้ข้อมูลผิดพลาดได้ และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาและพัฒนาโปรแกรมด้วย เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลจัดการให้นั่นเอง เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลสามารถรองรับการใช้งานของผู้ใช้หลายคนพร้อมกันได้ ดังนั้นความคงสภาพและความถูกต้องของข้อมูลจึงมีความสำคัญมากและต้องควบคุมให้ดีเนื่องจากผู้ใช้อาจเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลได้ ซึ่งจะทำให้เกิดความผิดพลาดกระทบต่อการใช้ข้อมูลของผู้ใช้อื่นทั้งหมดได้ ดังนั้นประโยชน์ของระบบฐานข้อมูลในเรื่องนี้จึงมีความสำคัญมาก

3. มีความเป็นอิสระของข้อมูล
เนื่องจากมีแนวคิดที่ว่าทำอย่างไรให้โปรแกรมเป็นอิสระจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างข้อมูล ในปัจจุบันนี้ถ้าไม่ใช้ระบบฐานข้อมูลการแก้ไขโครงสร้างข้อมูลจะกระทบถึงโปรแกรมด้วย เนื่องจากในการเรียกใช้ข้อมูลที่เก็บอยู่ในระบบแฟ้มข้อมูลนั้น ต้องใช้โปรแกรมที่เขียนขึ้นเพื่อเรียกใช้ข้อมูลในแฟ้มข้อมูลนั้นโดยเฉพาะ เช่น เมื่อต้องการรายชื่อพนักงานที่มีเงินเดือนมากกว่า 100,000 บาทต่อเดือน โปรแกรมเมอร์ต้องเขียนโปรแกรมเพื่ออ่านข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลพนักงานและพิมพ์รายงานที่แสดงเฉพาะข้อมูลที่ตรงตามเงื่อนไขที่กำหนด กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของแฟ้มข้อมูลข้อมูลเช่น ให้มีดัชนี (index) ตามชื่อพนักงานแทนรหัสพนักงาน ส่งผลให้รายงานที่แสดงรายชื่อพนักงานที่มีเงินเดือนมากกว่า 100,000 บาทต่อเดือนซึ่งแต่เดิมกำหนดให้เรียงตามรหัสพนักงานนั้นไม่สามารถพิมพ์ได้ ทำให้ต้องมีการแก้ไขโปรแกรมตามโครงสร้างดัชนี (index) ที่เปลี่ยนแปลงไป ลักษณะแบบนี้เรียกว่าข้อมูลและโปรแกรมไม่เป็นอิสระต่อกัน

4. มีความปลอดภัยของข้อมูลสูง
ถ้าหากทุกคนสามารถเรียกดูและเปลี่ยนแปลงข้อมูลในฐานข้อมูลทั้งหมดได้ อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อข้อมูลได้ และข้อมูลบางส่วนอาจเป็นข้อมูลที่ไม่อาจเปิดเผยได้หรือเป็นข้อมูลเฉพาะของผู้บริหาร หากไม่มีการจัดการด้านความปลอดภัยของข้อมูล ฐานข้อมูลก็จะไม่สามารถใช้เก็บข้อมูลบางส่วนได้
ระบบฐานข้อมูลส่วนใหญ่จะมีการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ดังนี้

· มีรหัสผู้ใช้ (user) และรหัสผ่าน (password) ใน การเข้าใช้งานฐานข้อมูลสำหรับผู้ใช้แต่ละคนระบบฐานข้อมูลมีระบบการสอบถาม ชื่อพร้อมรหัสผ่านของผู้เข้ามาใช้ระบบงานเพื่อให้ทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้อง เท่านั้น โดยป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตเข้ามาเห็นหรือแก้ไขข้อมูลในส่วนที่ ต้องการปกป้องไว้
ในระบบฐานข้อมูลสามารถสร้างและจัดการตารางข้อมูลทั้งหมดในฐานข้อมูล ทั้งการเพิ่มผู้ใช้ ระงับการใช้งานของผู้ใช้ อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถเรียกดู เพิ่มเติม ลบและแก้ไขข้อมูล หรือบางส่วนของข้อมูลได้ในตารางที่ได้รับอนุญาต) ระบบฐานข้อมูลสามารถกำหนดสิทธิการมองเห็นและการใช้งานของผู้ใช้ต่างๆ ตามระดับสิทธิและอำนาจการใช้งานข้อมูลนั้นๆ
ในระบบฐานข้อมูล (DBA) สามารถใช้วิว (view) เพื่อประโยชน์ในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้เป็นอย่างดี โดยการสร้างวิวที่เสมือนเป็นตารางของผู้ใช้จริงๆ และข้อมูลที่ปรากฏในวิวจะเป็นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับงานของผู้ใช้เท่านั้น ซึ่งจะไม่กระทบกับข้อมูลจริงในฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูลจะไม่ยอมให้โปรแกรมใดๆ เข้าถึงข้อมูลในระดับกายภาพ (physical) โดยไม่ผ่าน ระบบการจัดการฐานข้อมูล และถ้าระบบเกิดความเสียหายขึ้นระบบจัดการฐานข้อมูลรับรองได้ว่าข้อมูลที่ยืนยันการทำงานสำเร็จ (commit) แล้วจะไม่สูญหาย และถ้ากลุ่มงานที่ยังไม่สำเร็จ (rollback) นั้นระบบจัดการฐานข้อมูลรับรองได้ว่าข้อมูลเดิมก่อนการทำงานของกลุ่มงานยังไม่สูญหาย
มีการเข้ารหัสและถอดรหัส (encryption/decryption) เพื่อปกปิดข้อมูลแก่ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่น มีการเข้ารหัสข้อมูลรหัสผ่าน

5. ใช้ข้อมูลร่วมกันโดยมีการควบคุมจากศูนย์กลาง
มีการควบคุมการใช้ข้อมูลในฐานข้อมูลจากศูนย์กลาง ระบบฐานข้อมูลสามารถรองรับการทำงานของผู้ใช้หลายคนได้ กล่าวคือระบบฐานข้อมูลจะต้องควบคุมลำดับการทำงานให้เป็นไปอย่างถูกต้อง เช่นขณะที่ผู้ใช้คนหนึ่งกำลังแก้ไขข้อมูลส่วนหนึ่งยังไม่เสร็จ ก็จะไม่อนุญาตให้ผู้ใช้คนอื่นเข้ามาเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อมูลนั้นได้ เนื่องจากข้อมูลที่เข้ามายังระบบฐานข้อมูลจะถูกนำเข้าโดยระบบงานระดับปฏิบัติการตามหน่วยงานย่อยขององค์กร ซึ่งในแต่ละหน่วยงานจะมีสิทธิในการจัดการข้อมูลไม่เท่ากัน ระบบฐานข้อมูลจะทำการจัดการว่าหน่วยงานใดใช้ระบบจัดการฐานข้อมูลในระดับใดบ้าง ใครเป็นผู้นำข้อมูลเข้า ใครมีสิทธิแก้ไขข้อมูล และใครมีสิทธิเพียงเรียกใช้ข้อมูล เพื่อที่จะให้สิทธิที่ถูกต้องบนตารางที่สมควรให้ใช้

ระบบฐานข้อมูลจะบอกรายละเอียดว่าข้อมูลใดถูกจัดเก็บไว้ในตารางชื่ออะไร เมื่อมีคำถามจากผู้บริหารจะสามารถหาข้อมูลเพื่อตอบคำถามได้ทันทีโดยใช้ภาษาฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพมาก คือ SQL ซึ่งสามารถตอบคำถามที่เกิดขึ้นในขณะใดขณะหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลได้ทันที โดยไม่จำเป็นต้องเขียนภาษาโปรแกรมอย่างเช่น โคบอล ซี หรือ ปาสคาล ซึ่งเสียเวลานานมากจนอาจไม่ทันต่อความต้องการใช้ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจของผู้บริหาร

เนื่องจากระบบจัดการฐานข้อมูลนั้นสามารถจัดการให้ผู้ใช้ทำงานพร้อมๆ กันได้หลายคน ดังนั้นโปรแกรมที่พัฒนาภายใต้การดูแลของระบบจัดการฐานข้อมูลจะสามารถใช้ ข้อมูลร่วมกันในฐานข้อมูลเดียวกันระบบฐานข้อมูลจะแบ่งเบาภาระในการพัฒนาระบบ งานถ้าการพัฒนาระบบงานไม่ใช้ระบบฐานข้อมูล (ใช้ระบบแฟ้มข้อมูล) ผู้พัฒนาโปรแกรมจะต้องจัดการสิ่งเหล่านี้เองทั้งหมด นั่นคือระบบฐานข้อมูลทำให้การใช้ข้อมูลเกิดความเป็นอิสระระหว่างการจัดเก็บ ข้อมูลและการประยุกต์ใช้ เพราะส่วนของการจัดเก็บข้อมูลจริงถูกซ่อนจากการใช้งานจริงนั่นเอง



4. จงอธิบายความหมายของระบบสารสนเทศต่อไปนี้ พร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ
4.1 MIS (Management Information System)
คือระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (Management Information System) หรือ MIS คือระบบที่ให้สารสนเทศที่ผู้บริหารต้องการ เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะรวมทั้ง สารสนเทศภายในและภายนอก สารสนเทศที่เกี่ยวพันกับองค์กรทั้งในอดีตและปัจจุบัน รวมทั้งสิ่งที่คาดว่าจะเป็นในอนาคต นอกจากนี้ระบบเอ็มไอเอสจะต้อง ให้สารสนเทศ ในช่วงเวลาที่เป็นประโยชน์ เพื่อให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจในการวางแผนการควบคุม และการปฏิบัติการขององค์กรได้อย่างถูกต้อง

4.2 DSS (Decision support system)

ระบบ DSS หรือ ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ เป็นระบบสารสนเทศที่จัดทำขึ้นเพื่อให้ ผู้บริหารใช้ประกอบการตัดสินใจ ดังนั้นจึงเป็นระบบที่ง่ายต่อการเรียกใช้และตอบโต้ ทั้งนี้เพราะ ผู้บริหารระดับกลางขึ้นไปคุ้นเคยและจำเป็นต้องใช้การตัดสินใจบนประสบการณ์ ต่อสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งที่สามารถควบคุมได้และไม่สามารถควบคุมหรือคาดการณ์ ล่วงหน้าได้ ระบบ DSS จึงเป็นการผสมผสานสารสนเทศที่มีอยู่หรือเรียกหาได้จากระบบ MIS กับสารสนเทศที่คาดว่าผู้บริหารต้องการจากภายนอกองค์กร แล้วนำมาเปรียบเทียบ คำนวณ วิเคราะห์ คาดการณ์ โดยออกมาในรูปของ กราฟฟิก แผนงาน หรือแม้แต่ปัญญาประดิษฐ์ เพื่อให้เกิดความสะดวกในการใช้สารสนเทศสำหรับผู้บริหารที่ต้องตัดสินใจนอกเหนือไปจากงานหรือสถานการณ์ภายในที่ควบคุมได้ ระบบ DSS จะได้รับการออกแบบเพื่อให้สนับสนุนการตัดสินใจในงานหลายๆ ด้านพร้อมกัน ดังนั้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรจึงได้รับการจัดระบบใหม่เพื่อให้สามารถแสดงความเกี่ยวข้องอย่างชัดเจน เรียกใช้ได้ทันที ซึ่งต่างกับระบบ MIS ที่แม้จะแลกเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างงานได้ แต่สารสนเทศต่าง ๆ ก็ถูกจัดไว้สำหรับแต่ละงาน
ระบบ DSS มีคุณลักษณะดังต่อไปนี้
1. ระบบ DSS ช่วยผู้บริหารในกระบวนการตัดสินใจ
2. ระบบ DSS ได้รับการออกแบบเพื่อสนองการแก้ปัญหาแบบ semi structured และ unstructured problems
3. ระบบ DSS ใช้ประกอบการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารทุกระดับ แต่เหมาะสมที่สุดสำหรับผู้บริหารระดับกลางและระดับสูง
4. ระบบ DSS เป็นระบบที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับระบบและง่ายต่อการใช้งาน ผู้บริหารที่ไม่มีความเชี่ยวชาญทางระบบคอมพิวเตอร์ก็สามารถใช้ได้โดยสะดวก
5. ระบบ DSS เสนอเครื่องมือช่วยการตัดสินใจในรูปของแบบจำลอง แบบทดสอบและเครื่องมือช่วยการวิเคราะห์ข้อมูลหรือสถานการณ์
6. ระบบ DSS สามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับความต้องการใช้สารสนเทศในสิ่งแวดล้อมที่แตกต่างกัน
7. ระบบ DSS สามารถใช้งานกับฐานข้อมูลภายในองค์กรได้
8. ระบบ DSS ไม่ประมวลผลข้อมูลในลักษณะงานประจำ เช่น การจัดตารางการผลิตสินค้าในรอบสัปดาห์และรายงานผลการผลิตต่อสัปดาห์
ภายในระบบ DSS จึงประกอบด้วยเครื่องมือ (tools) ดังต่อไปนี้
1. Applications development เป็นส่วนที่ช่วยสร้างงานตามที่ผู้ใช้ต้องการ เช่น ให้สามารถส่งข้อมูลเข้าประมวลผล จัดเก็บและแสดงผลลัพธ์ตามลักษณะของงานที่กำหนด
2. Data management เป็นส่วนของซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดเก็บ บำรุงรักษา และเรียกใช้ สารสนเทศเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกัน โดยดึงออกมาจากฐานข้อมูลภายในซอฟต์แวร์ประเภทนี้ ได้แก่ data warehousing ซึ่งจะสร้างฐานข้อมูลแบบ relational database โดยนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันจากฐานข้อมูลในระบบ MIS ออกมาจัดการ จัดเก็บ เรียกใช้ และบำรุงรักษา ต่างหาก
3. Modeling เป็นการใช้หลักการทางคณิตศาสตร์มาคำนวณและคาดคะเนความน่าจะเป็นเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจที่มีความเสี่ยงเข้ามาเกี่ยวข้อง
4. Statistical analysis เป็นการใช้หลักการวิเคราะห์ทางสถิติช่วยในการคำนวณเพื่อให้ได้เปอร์เซ็นต์หรืออัตราส่วนของการพยากรณ์เหตุการณ์ต่าง ๆ
5. Planning เป็นส่วนของซอฟต์แวร์ที่ช่วยคำนวณสถานการณ์ในอนาคต โดยให้ผู้ใช้ (ผู้บริหาร) ตั้งคำถามประเภท what-if เช่น ถ้าต้องการจะทำยอดขายให้ถึง 120 ล้านในปีหน้า จะต้องเพิ่มงบประมาณด้านการโฆษณาเท่าไร
6. Graphics เป็นการใช้โปรแกรมทางกราฟิกเพื่อช่วยแสดงผลลัพธ์ในรูปของแผนภูมิ (chart) ประเภทต่าง ๆ เพื่อให้สะดวกแก่การใช้งาน นั่นคือเมื่อผู้ใช้เห็นแผนภูมิในลักษณะ pie chart แสดงยอดขายรายเดือนแล้วยังเรียกดูกราฟแสดงยอดขายรายอาทิตย์ของเดือนนั้นได้ด้วย
7. Consolidations เป็นเครื่องมือในระบบ DSS ที่ช่วยรวบรวมข้อมูลที่มีลักษณะคล้ายกัน หรือกลุ่มเดียวจากแหล่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น รวมรายงานงบประมาณจากสำนักงานสาขาหลายสาขาให้เป็นรายงานงบประมาณรวมของบริษัท
8. Application-specific DSS capabilities เป็นส่วนของระบบ DSS ที่ใช้สร้างงานเฉพาะด้านในสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน เช่น การวิเคราะห์การเงิน และการควบคุมคุณภาพสินค้า


4.3 ES (Expert Systems)

ES ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก้ผู้ใช้ในการให้คำแนะนำที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ในบางสาขาES เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เก็บข้อมูลและกฎเกณฑ์ของความรู้ ซึ่งรวบรวมมาจากสาขาวิชาที่ต้องการความเชี่ยวชาญไว้ในฐานความรู้ (knowledge base) และโปรแกรมจะดำเนินการเมื่อมีการป้อนข้อมูลโดยผู้ใช้ ในลักษณะการถามตอบและประมวลผล คำตอบจากที่ผู้ใช้ป้อนเข้าไปเพื่อหาข้อสรุปหรือคำแนะนำที่ต้องการ
ES เป็นสาขาหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence-AI) ซึ่งศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับ การพัฒนา ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการเลียนแบบการเรียนรู้และพฤติกรรมการให้เหตุผล


4.4 DP ( Data Processing Systems )
ระบบ DP คือ การประมวลผลข้อมูลที่รวบรวมขึ้นในแต่ละงานขององค์กร ข้อมูลจะถูกเก็บไว้ในลักษณะของแฟ้มข้อมูล (file) ประมวลผลและปรับปรุงแก้ไขข้อมูลในช่วงเวลาของการทำงานนั้นๆ เป็นลักษณะงานประจำ ผลลัพธ์ที่ออกมาอยู่ในรูปของรายงานหรือเอกสารของการปฏิบัติงาน เช่น รายงานสินค้าที่ขายในแต่ละวัน แยกตามประเภทสินค้าเป็นต้น เหมาะสำหรับผู้บริหารระดับปฏิบัติการใช้ในการตรวจสอบรายละเอียดของการปฏิบัติงานประจำต่างๆ แต่ละงานในแต่ละวัน

4.5 EIS ( Executive Information Systems )
เป็นระบบสารสนเทศที่ใช้หลักการและวิธีการเดียวกับระบบ DSS แต่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับงานในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีระบบการตัดสินใจที่ซับซ้อน ต้องการความแม่นยำและรวดเร็วในการ ตัดสินใจจากสภาวะหรือผลกระทบภายนอกองค์กร ดังนั้นแหล่งสารสนเทศภายนอกต่างๆ เช่น สำนักข่าว CNN, ROUITER, ตลาดหุ้น, ห้องสมุด ฯลฯ จะได้รับการโยงเข้าสู่ระบบ EIS เพื่อให้ผู้บริการสามารถตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้ผู้บริหารระดับสูงต้องการสารสนเทศจากภายนอกองค์กรที่มีผลกระทบต่อการบริหารจัดการและการตัดสินใจประเภทนี้อยู่ในลักษณะ unstructured decision making เพื่อวางแผนระยะยาวและแก้ปัญหาเฉพาะหน้าด้วย



5. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างระบบสารสนเทศดังต่อไปนี้
5.1 MIS กับ DP
ระบบ MIS มีข้อแตกต่างจากระบบ DP ดังนี้คือ : ระบบ MIS ประกอบด้วยฐานข้อมูลที่เป็นIntegrated Database กล่าวคือ มีการใช้ฐานข้อมูลต่าง ๆ (ข้อมูลต่าง ๆ ภายในองค์กร มาจากระบบ DP ต่าง ๆ ภายใต้งานหลักเฉพาะหน่วยงานขององค์กร) ภายในองค์กรร่วมกัน ดังนั้นผู้บริหารทุกระดับสามารถใช้Integrated Database เพื่อเรียกใช้สารสนเทศประกอบการตัดสินใจได้สะดวกกว่าระบบ DP ซึ่งจะรายงานเฉพาะหน่วยงาน ไม่สามารถเปรียบเทียบหรือโยงไปยังข้อมูล / สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกันได้

5.2 DSS กับ MIS
ระบบ DSS จะได้รับการออกแบบเพื่อให้สนับสนุนการตัดสินใจในงานหลายๆ ด้านพร้อมกัน ดังนั้นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องภายในองค์กรจึงได้รับการจัดระบบใหม่เพื่อให้สามารถแสดงความเกี่ยวข้องอย่างชัดเจน เรียกใช้ได้ทันที ซึ่งต่างกับระบบ MIS ที่แม้จะแลกเปลี่ยนสารสนเทศระหว่างงานได้ แต่สารสนเทศต่าง ๆ ก็ถูกจัดไว้สำหรับแต่ละงาน

5.3 EIS กับ DSS
ระบบEISเป็นระบบสารสนเทศที่ใช้หลักการและวิธีการเดียวกับระบบ DSS แต่พัฒนาขึ้นมาเพื่อรองรับงานในองค์กรขนาดใหญ่ที่มีระบบการตัดสินใจที่ซับซ้อน ต้องการความแม่นยำและรวดเร็วในการ ตัดสินใจจากสภาวะหรือผลกระทบภายนอกองค์กร

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 1

1. ข้อมูล (Data) แตกต่างจากสารสนเทศ ( Information) อย่างไร จงอธิบาย
ตอบ
ข้อมูล คือ เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นประจำวันในการดำเนินธุรกิจขององค์กร เช่น รายการสั่งซื้อสินค้าจากลูกค้า รายการส่งสินค้า ชื่อที่อยู่ลูกค้า ยอดขายในแต่ละวัน เป็นต้น ข้อมูลอาจเป็นได้หลายชนิด เช่น ตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ รูปถ่าย หรือแม้กระทั่งเสียง
สารสนเทศ (Information)
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านกระบวนกา
รเก็บรวบรวมและเรียบเรียง เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้ สารสนเทศที่ดี จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้ถูกต้องแม่นยำขึ้น และช่วยให้การประมาณการในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนหรือยอดขายใกล้เคียงกับความเป็นจริงที่จะเกิดขึ้นได้ มากที่สุด

2. จงอธิบายความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้LAN, MAN, WAN, Cyberspace, Mainframe, Microcomputer
ตอบ LAN.เป็นลักษณะการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันภายในพื้นที่ใกล้ ๆ กัน เครือข่าย LAN ออกแบบมาเพื่อให้บริการแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน ในส่วนต่างๆขององค์กรในบริเวณที่ไม่ไกลกันมาก เช่นอยู่ในอาคารเดียวกัน ระหว่างชั้นอาคาร สามารถดูแลได้เองโดยไม่ต้องใช้ระบบสื่อสารข้อมูลแบบอื่น การเชื่อมโยงเครือข่าย
MAN คือ เครือข่ายระดับเมือง เป็นการเชื่อมโยงเครือข่าย LAN ให่เป็นกลุ่มใหญ่ เพื่อครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่ขึ้น.
WAN คืออะไร เป็นเครือข่ายเชื่อม โยงกันในระยะทางที่ห่างไกลซึ่งอาจมีพื้นฐานการเชื่อมต่อจาก LAN เครือข่ายแบบ LAN และ WAN ล้วนแล้วแต่ใช้หลักการของแพ็กเกจสวิตชิ่ง.
ความหมาย Cyberspace คือไซเบอร์สเปซ, คำซึ่งใช้ในความหมายทางจินตภาพของระบบเครือข่าย และมักใช้สื่อหมายถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยเฉพาะพื้นที่อิเล็กทรอนิกส์ หรือภูมิประเทศเสมือนที่อยู่บนการสื่อสารแบบออนไลน์
Mainframe Computers เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก แต่ยังต่ำกว่าซูเปอร์คอมพิวเตอร์ คือปกติสามารถทำงานได้รวดเร็ว หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที สำหรับสาเหตุที่ได้ชื่อว่า เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ ก็เพราะครั้งแรกที่สร้างคอมพิวเตอร์ลักษณะนี้ได้สร้างไว้บนฐานรองรับ ที่เรียกว่า คัสซี่ (Chassis) โดยมีชื่อเรียกฐานรองรับนี้ว่า เมนเฟร
Microcomputer ไมโครคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก บางคนเห็นว่าเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานส่วนบุคคล หรืดเรียกว่า พีซี
(Personal computer: PC) สามารถใช้เป็นเครื่องต่อเชื่อมในเครือข่าย หรือใช้เป็นเครื่องปลายทาง (terminal) ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นเพียงอุปกรณ์รับและแสดงผลสำหรับป้อนข้อมูลและดูผลลัพธ์ โดยดำเนินการการประมวลผลบนเครื่องอื่นบนเครือข่

3. เทคโนโลยีสารสนเทศ ( Information Technology) เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางด้าน
ใดบ้าง
ตอบ
1. เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมและซอฟต์แวร์
2. เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับโครงสร้างของคอมพิวเตอร์และการควบคุมคอมพิวเตอร์
3. เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์สื่อสาร
4. เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ในงานด้านกราฟิก มัลติเมเดีย
5. เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการนำคอมพิวเตอร์ไปใช้ทำงานที่ชาญฉลาด
6. เทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

4. จงยกตัวอย่างของระบบการสื่อสารในชีวิตประจำวันพร้อมทั้งอธิบายองค์ประกอบของ
ระบบที่ยกตัวอย่างมาพอสังเขป
1 ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
2 ระบบสารสนเทศเทคโนโลยีการเกษตร
3 ระบบสารสนเทศทางการเเพทย์
4 ระบบสารสนเทศการเงินการธนคาร
5 ระบบสารสนเทศการแสดงหุ้นของบริษัทต่างๆ

5. จงอธิบายว่าเทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบต่อตัวคุณและการดำเนินชีวิตของคุณใน
ด้านใดและอย่างไร
ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศต่อชีวิตความเป็นอยู่และสังคมมีมาก มีการเรียนรู้และใช้สารสนเทศกันอย่างกว้างขวาง ผละกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ กล่าวได้ดังนี้

1.4.1 การสร้างเสริมคุณภาพชีวิต สภาพความเป็นอยู่ของสังคมเมือง มีการพัฒนาการใช้ระบบสื่อสารโทรคมนาคม เพื่อติดต่อสื่อสารให้สะดวกรวดเร็ว มีการประยุกต์มาใช้กับเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น ใช้ควบคุมเครื่องปรับอากาศ ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องซักผ้า ใช้ควบคุมระบบไฟฟ้าภายในบ้าน

1.4.2 การเสริมสร้างความเสมอภาคในสังคมและการกระจายโอกาส เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยให้การกระจายข่าวสารไปได้ทั่วทุกหนแห่ง แท้แต่ในถิ่นทุรกันดาร ทำให้มีการกระจายโอกาสการเรียนรู้ มีการใช้ระบบการเรียนการสอนทางไกล การกระจายการเรียนรู้ไปยังถิ่นห่างไกล นอกจากนี้มีความพยายามที่จะใช้ระบบการรักษาพยาบาลผ่านเครือข่ายสื่อสาร

1.4.3 การเรียนการสอนในสถานศึกษา ในสถานศึกษามีการนำคอมพิวเตอร์และเครื่องมือประกอบช่วยในการเรียนการสอน เช่น วิดีทัศน์ เครื่องฉายภาพ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยจัดการศึกษา จัดตารางสอน คำนวณระดับคะแนน จัดชั้นเรียน ทำรายงานเพื่อให้ผู้บริหารได้ทราบถึงปัญหาและการแก้ปัญหาในโรงเรียน ปัจจุบันมีการเรียนการสอนทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศในสถานศึกษามากขึ้น

1.4.4 การรักษาสิ่งแวดล้อม การจัดทรัพยากรธรรมชาติหลายอย่างจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น การดูแลรักษาป่า จำเป็นต้องใช้ข้อมูล มีการใช้ภาพถ่ายจากดาวเทียม การติดตามข้อมูลสภาพอากาศ การพยากรณ์อากาศ การจำลองรูปแบบสภาวะสิ่งแวดล้อมเพื่อปรับปรุงแก้ไข การเก็บรวบรวมข้อมูลคุณภาพน้ำในแม่น้ำต่าง ๆ การตรวจวัดมลภาวะ ตลอดจนการใช้ระบบการตรวจวัดระยะไกลมาช่วยที่เรียกว่า โทรมาตร เป็นต้น

1.4.5 การป้องกันประเทศ กิจการทางด้านการทหารมีการใช้เทคโนโลยี อาวุธยุทโธปกรณ์สมัยใหม่ล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ เช่น ระบบควบคุม ระบบป้องกันภัย และระบบเฝ้าระวัง (เรดาร์)

1.4.6 การผลิตในอุตสาหกรรม และการพาณิชกรรม การแข่งขันทางด้านการผลิตสินค้าอุตสาหกรรม จำเป็นต้องหาวิธีการในการผลิต เพื่อให้สามารถผลิตสินค้าได้จำนวนมากและมีราคาที่ถูกลง เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมาก นอกจากนี้ยังมีการใช้ข้อมูลข่าวสารเพื่อการบริหารและการจัดการ การดำเนินการและยังรวมไปถึงการให้บริการกับลูกค้าเพื่อให้ซื้อสินค้าได้ สะดวกขึ้น

1.4.7 ความคิดและการสร้างสรรค์ เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบเกี่ยวข้องกับทุกเรื่องในชีวิตประจำวัน และมีแนวโน้มที่จะมีบทบาทมากยิ่งขึ้น ด้วยเหตุผลนี้เยาวชนจึงต้องเรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้สามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศไปพัฒนาสิ่งต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีหรือซอฟต์แวร์จากต่างประเทศ ทำให้มีค่าใช้จ่ายที่ถูกลง ในการนี้มีหลายสถาบัน เช่น สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) และศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC)ได้มีการจัดแข่งขันการพัฒนาซอฟต์แวร์ทุกปีเพื่อพัฒนาความรู้ความ สามารถ และเปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้แสดงความคิดสร้างสรรค์ และพัฒนาสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อท้องถิ่น
6. คุณคิดว่าแนวโน้มของเทคโนโลยีสารสนเทศในอนาคตจะเป็นไปในทิศทางใด
ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศได้บูรณาการเข้าสู่ระบบธุรกิจ ดังนั้นองค์การที่จะอยู่รอด และมีพัฒนาการต้องสามารถปรับตัวและจัดการกับเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม โดยหัวข้อนี้จะกล่าวถึงเทคโนโลยีสารสนเทศที่จะมีผลต่อการดำเนินธุรกิจใน อนาคต เพื่อให้ผู้บริหารในฐานะหัวใจสำคัญของการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ขององค์การได้ศึกษา แต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของเทคโนโลยีสารสนเทศอาจทำให้ เทคโนโลยีที่กล่าวถึงในที่นี้ล้าสมัยได้ในระยะเวลาอันรวดเร็ว ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ผู้บริหารที่สนใจจะต้องศึกษาติดตามความเปลี่ยน แปลงอยู่ตลอดเวลา โดยเทคโนโลยีสารสนเทศที่สำคัญในอนาคตมีดังต่อไปนี้

1. คอมพิวเตอร์ (computer)
ปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้พัฒนาไปจากยุคแรกที่เครื่องมีขนาดใหญ่ทำงานได้ช้า ความสามารถต่ำ และใช้พลังงานสูง เป็นการใช้เทคโนโลยีวงจรรวมขนาดใหญ่ (very large scale integrated circuit : VLSI) ในการผลิตไมโครโปรเซสเซอร์ (microprocessor) ทำให้ประสิทธิภาพของส่วนประมวลผลของเครื่องพัฒนาขึ้นอย่างเห็นได้ชัด นอกจากนี้ยังได้มีการพัฒนาหน่วยความจำให้มี ประสิทธิภาพสูงขึ้น แต่มีราคาถูกลง ซึ่งช่วยเพิ่มศักยภาพในการทำงานของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในปัจจุบัน โดยที่คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในขณะที่มีความสามารถเท่าเทียมหรือมากกว่า เครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ในสมัยก่อน ตลอดจนการนำคอมพิวเตอร์ชนิดลดชุดคำสั่ง (reduced instruction set computer) หรือ RISC มาใช้ในการออกแบบหน่วยประเมินผล ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้เร็วขึ้นโดยใช้คำสั่งพื้นฐานง่าย ๆ นอกจากนี้พัฒนาการและการประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชาต่าง ๆ ทั้งสาขาวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ส่งผลให้เครื่องคอมพิวเตอร์มีการประมวลผลตามหลักเหตุผล ของมนุษย์หรือระบบปัญญาประดิษฐ์ ซึ่งจะกล่าวถึงในหัวข้อต่อไป

2. ปัญญาประดิษฐ์ (artificial intelligence) หรือ AI
เป็น การพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถที่จะคิด แก้ปัญหาและให้เหตุผลได้เหมือนอย่างการใช้ภูมิปัญญาของมนุษย์จริง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ในหลายสาขาวิชาได้ศึกษาและ ทดลองที่จะพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานที่มีเหตุผล โดยการเลียนแบบการทำงานของสมองมนุษย์ ซึ่งความรู้ทางด้านนี้ถ้าได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ อย่างมากมาย เช่น ระบบผู้เชี่ยวชาญเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อให้ความสามารถในการแก้ปัญหาได้อย่างผู้เชี่ยวชาญ และหุ่นยนต์ (robotics) เป็นการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ให้สามารถปฏิบัติงานและ ใช้ทักษะการเคลื่อนไหวได้ใกล้เคียงกับการทำงานของมนุษย์ เป็นต้น