วันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2556

เรียนรู้เรื่องกีฬา


กีฬา

1.กรีฑา

ประวัติกรีฑากติกากรีฑา                                                     http://hilight.kapook.com/view/72001
กรีฑาประเภทลู่ การวิ่งผลัด                                                http://blog.eduzones.com/jipatar/85918
กรีฑาประเภทลาน                                      http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health04/07/2/htmls/Data5-2.htm

2.แบดมินตัน

ประวัติกีฬาแบดมินตัน                                                          http://blog.eduzones.com/jipatar/85842
กติกาแบดมินตัน                                                                http://www.badmintonthai.com/main/modules.php?name=Badminton_Rule

3.เซปักตะกร้อ

ประวัติกีฬาเซปักตะกร้อ                   http://www.takraw.or.th/th/index.php?action=background_takraw.htm
กติกาเซปักตะกร้อ                                                           http://www.takraw.or.th/th/regu/sepaktakraw.htm

4.มวยไทย

กติกามวยไทย                                     http://student.nu.ac.th/web_a.com/%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2.htm
ประวัตมวยไทย                                                         http://student.nu.ac.th/muaythaiboran/prawatmuay.htm


5.มวยสากล    

ประวัติมวยสากล                               http://guru.sanook.com/pedia/topic/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%AC%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%A5/             

6.ว่ายน้ำ

ประวัติกีฬาว่ายน้ำ                                                           http://www.thenpoor.com/swimming/index.html
กติกากีฬาว่ายน้ำ                                                                      http://lawsiri.wordpress.com/2008/12/19/%E0%B8%81%E0%B8%8E-%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B9%89/


7.ฟุตบอล

กติกาฟุตบอล                                      http://www.sopon.ac.th/sopon/sema_web/sport/football_rule2.htm
ประวัติกีฬาฟุตบอล                             http://www.tairomdham.net/index.php?topic=1508.0


8.ฟุตซอล

ประวัติฟุตซอล                                     http://blog-kikkok.blogspot.com/2008/08/blog-post.html
กติกากีฬาฟุตซอล                               http://www.ipesp.ac.th/learning/sportrules/futsal/html/page_2.html


9.ลีลาศ

ประวัติกีฬาลีลาศ                                  http://weerawat36.blogspot.com/2012/05/blog-post_30.html

10.เทควันโด

ประวัติเทควันโด                                  http://www.srt.ac.th/Siriporn/history_Tae.htm                                      
กติกาเทควันโด                                    http://school.obec.go.th/srt/Siriporn/katika.htm

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 7

 บทที่ 7 ผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ


1. จงอธิบายถึงผลกระทบของเทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ต่อไปนี้

ความรู้เกี่ยวกับผลกระทบของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ผลกระทบของเทคโนโลยี
ด้านเศรษฐกิจ
- มนุษย์สามารถจับจ่ายมากขึ้น เพราะมีบัตรเครดิตทำให้ไม่ต้องพกเงินสด หากต้องการซื้ออะไรที่ไม่ได้เตรียมการไว้ร่วงหน้า ก็สามารถซื้อได้ทันที เพียงแต่มีบัตรเครดิตเท่านั้นทำให้อัตราการเป็นนี้สูงขึ้น
- การแข่งขันกันทางธุรกิจสูงมาก ขึ้นเพราะต่างก็มุ่งหวังผลกำไรซึ่งก็เกิด ผลดีคืออัตราการขยายตัวทางธุรกิจสูงขึ้นแต่ ผลกระทบก็เกิดตามมาคือ บางครั้งก็มุ่งแต่แข่งขันกันจนลืมความมีมนุษย์ธรรมหรือความมีน้ำใจไป
ด้านการศึกษา
จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาผลิตสื่อการเรียนการสอนที่เรียกว่าCAIนั้นทำให้เกิดปัญหาที่เห็นได้ชัดเจน เช่น
- ครูกับนักเรียนจะคาดความสัมพันธ์และความใกล้ชิดกั เพราะนักเรียนสามารถที่จะเรียนได้จากโปรแกรมสำเร็จรูป ทำความสำคัญของโรงเรียนและครูลดน้อยลง
- นักเรียนที่มีฐานะอยากจนไม่สามารถที่จะใช้สื่อประเภทนี้ได้ทำให้เกิดข้อได้ เปรียบเสียเปรียบกันระหว่างนักเรียน ที่มีฐานะดีและยากจนทำให้เห็นว่าผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ ก็ย่อมที่จะมีโอกาสทางการศึกษาและทางสังคมดีกว่าด้วย
ด้านกฎหมาย ศีลธรรม จริยธรรม
- ทำให้เกิดปัญหาการว่างงานของแรงงานเพราะมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานมนุษย์อีก
- การปรับตัวเพื่อให้ทันกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ของพนักงานที่มีอายุมากหรือมี ความรู้น้อยก็จะทำให้พวกเขาไม่สามารถปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีเหล่านี้ได้ยาก ต้องมีความรู้จึงจะเข้าใจได้
- สมาชิกในสังคมมากรดำเนินชีวิตที่เป็นแบบต่างอยู่ไม่มีความสัมพันธ์กันภายในสังคมเพราะต่างมีชีวิตที่ต้องรีบเร่งและดิ้นรน

2.จากผลกระทบข้อที่ 1 นักศึกษาคิดว่า ผลกระทบด้านใดมีผลต่อการดำเนินชีวิตของนักศึกษามากที่สุด จงอธิบายมาพอสังเขป

ผลกระทบด้านเศรษฐกิจที่มีผลต่อการดำเนินชีวิต
การขนส่งมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับระบบเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อมของแต่ละประเทศ เป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะการพัฒนาระบบการขนส่ง ย่อมมีส่วนผลกระทบต่อการพัฒนาระบบอื่นๆ ของประเทศด้วย การพัฒนาระบบการขนส่งที่ดีย่อมทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายผลผลิตจากภาคชนบทสู่ ตัวเมือง ทำให้คนชนบทมีรายได้ดีขึ้นแต่ก็ส่งผลกระทบให้ประชาชนในชนบทในชนบทเปลี่ยนการ ดำรงชีวิตที่แตกต่างไปจากเดิม


3.จงบอกผลดีของการนำเทคโนโลยีมาใช้ ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวันของนักศึกษา

ผลดีของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวัน
1. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
2. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจในความแตกต่างระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ
3. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับความสำคัญ ประเภทของสารสนเทศ
4. เพื่อให้นิสิตได้เรียนรู้และเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งสารสนเทศและทรัพยากรสารสนเทศ


4.จงบอกผลเสียของการนำเทคโนโลยีมาใช้ ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวัน
  ของนักศึกษา


ผลเสียของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการเรียนและการดำรงชีวิตประจำวัน
มีผลต่อความคิดและพฤติกรรมของมนุษย์
เกิดการแพร่กระจายของข้อมูลที่เป็นเท็จมากขึ้น
เกิดข้อมูลหลอกลวง
มีผลกระทบต่อการศึกษา ผู้เรียน เด็ก ติดเกม มากขึ้น
เกิดการละเมิดลิขสิทธิ์
เป็นช่องทางในการเกิดอาชญากรรม

แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 6


สถาบันบริการสารสนเทศเชิงพาณิชย์ (commercial information service center)


บทที่ 6 การสืบค้นและการติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต

การสืบค้นและการติดต่อสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต
แหล่งสารสนเทศมีความสำคัญดังต่อนี้
 1.แหล่งสารสนเทศมีความสำคัญอย่างไร

แหล่งสารสนเทศ (information sources) หมายถึง แหล่งที่มา แหล่งผลิต
แหล่งเผยแพร่และให้บริการสารสนเทศ ซึ่งอาจเป็นบุคคล สื่อมวลชน และสถาบันบริการสารสนเทศ แหล่งสารสนเทศแยกประเภทตามที่มาและลำดับการผลิต แบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
สารสนเทศปฐมภูมิ (primary sources)
สารสนเทศทุติยภูมิ (secondary sources)
สารสนเทศตติยภูมิ (tertiary sources)


2.เราสามารถค้นคว้าหาข้อมูลจากแหล่งสารสนเทศที่ใดได้บ้าง และในแหล่งนั้นๆ มีข้อมูล
  สารสนเทศในรูปแบบใด

ห้องสมุดหรือหอสมุด (library)
ศูนย์สารสนเทศหรือศูนย์เอกสาร (information center or documentation center)
ศูนย์ข้อมูล (data center)
หน่วยงานทะเบียนสถิติ (statistical office)
ศูนย์วิเคราะห์สารสนเทศ (information analysis center)
ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing house)
หน่วยงานจดหมายเหตุ (archive)
3.จงยกตัวอย่างแหล่งสืบค้นข้อมูล(search engine) ว่ามีชื่ออะไรและมีรูปแบบและเทคนิค
  การสืบค้นข้อมูลอย่างไรมาอย่างน้อย 1 ตัวอย่าง

แหล่งสืบค้นข้อมูล (search engine) ศูนย์ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศ (information clearing house)
ศูนย์ ประมวลและแจกจ่ายสารสนเทศทำหน้าที่ให้ความช่วยเหลือในการเข้าถึงแหล่ง สารสนเทศ แนะนำแหล่งสารสนเทศ (referral service) ที่เหมาะสม หรือทำหน้าที่เป็นหน่วยงานรวบรวมทรัพยากรสารสนเทศแล้วแจกจ่ายไปยังผู้ที่ ต้องการ


4.จงบอกลักษณะของการบริการต่างๆ และยกตัวอย่างช่อแหล่งที่ให้บริการต่อไปนี้

ลักษณะของการบริการ
FTP
หมาย ถึง การดาวน์โหลด หรือย้ายไฟล์ในระบบอินเตอร์เน็ตมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่นเดียวกันก็สามารถนำไฟล์จากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปไว้ในพื้นที่เก็บข้อมูล โดยผ่านโปรแกรม FTP สามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้หลายประเภทแล้วแต่ว่าผู้ใช้จะต้องการใช้งานไฟล์ ประเภทใด จุดเด่นสามารถนำไปใช้รวมกับระบบการการทำเว็บไซต์ , เป็นช่องทางเก็บหรือส่งข้อมูลหาลูกค้าหรือภายในองค์กรได้
E-mail
การให้บริการฟรีอีเมล์ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. Web Based E-mail เป็นอีเมล์ที่ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตจัดเก็บไว้ในเครื่องเซิร์ฟเวอร์ของ ผู้ใช้บริการ ดังนั้นทุกครั้งที่ผู้ใช้จะเข้าไปอ่านหรือส่งอีเมล์จำเป็นจะต้องเปิดเว็บ พร้อมกรอกชื่อและรหัสผู้ใช้ก่อนเข้าไปใช้บริการ และผู้ใช้สามารถเข้าสู่ระบบจากเครื่องใดก็ได้ที่สามารถเชื่อมต่อระบบเครือ ข่ายอินเทอร์เน็ต
2. Pop Mail เป็นอีเมล์ที่สนับสนุนให้สามารถเรียกมาเปิดอ่านผ่านโปรแกรมรับส่งอีเมล์บน เครื่องของผู้ใช้ แต่เมื่อผู้ใช้ได้เปิดอ่านอีเมล์แล้วโปรแกรมจะโหลดอีเมล์มาไว้บนเครื่องของ ผู้ใช้ พร้อมกับลบต้นฉบับบนเซิร์ฟเวอร์ทิ้งไป
3. Imap Mail เป็นอีเมล์ที่คล้ายกับ Pop Mail ซึ่งสามารถใช้โปรแกรมโหลดอีเมล์มาเปิดอ่านที่เครื่องของผู้ใช้ได้ แต่เหนือกว่านั้นคือ ผู้ใช้สามารถเห็นหัวข้ออีเมล์ก่อนที่จะโหลดข้อความ และถูกถ่ายโอนข้อมูลถึงกันทันทีหลังจากมีการเลือกเปิดอ่านอีเมล์ที่ต้องการ
ICQบริการนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ง่าย สามารถที่จะคุยกับเพื่อนได้สะดวก เพราะโปรแกรมจะแสดงรายชื่อของเพื่อน เมื่อมีการเปิดเครื่องขึ้น จะแสดงสถานะให้ทราบว่าเพื่อนคนใดพร้อมรับข้อความ และสามารถคุยได้คล้ายโปรแกรม IRC แต่ ICQ จะมีความเฉพาะเจาะจงกว่า เพราะทุกคนจะมีเลขประจำตัว1 เลขเสมอ สำหรับผู้เขียนได้เลข 20449588 ซึ่งทั้งโลกนี้มีผู้เขียนคนเดียวที่ได้เลขนี้
Web board คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน

วันพฤหัสบดีที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดท้ายบทที่5


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 5


1.จงบอกจุดประสงค์ของการพัฒนาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระยะแรกเกิดจากสาเหตุใด

ตอบ  จุดประสงค์ของการประดิษฐ์คอมพิวเตอร์ใช้ในสมัยแรก ๆ นั้น เพื่อให้คอมพิวเตอร์ได้ทำงานบางอย่างแทนมนุษย์ได้ เช่น การคำนวณเลข ซึ่งถ้าเป็นตัวเลขจำนวนมาก ๆ มนุษย์จะใช้เวลาในการคำนวณมากและมีโอกาสเกิดข้อผิดพลาดได้มาก ในขณะที่คอมพิวเตอร์สามารถคำนวณได้เร็วกว่ามาก อีกทั้งยังมีความแม่นยำและมีความผิดพลาดน้อยกว่ามนุษย์มาก การทำงานจะให้มีประสิทธิภาพสูงจะ ต้องทำเป็นหมู่คณะ หรือทีมเวิร์ค (Teamwork) คอมพิวเตอร์ก็ซึ่งถูกสร้างมาเพื่อทำงานแทนมนุษย์ก็จำเป็นที่ต้องมีการสื่อ สารซึ่งกันและกันเช่นกัน ฉะนั้นคอมพิวเตอร์เครื่องใดที่ไม่ได้เชื่อมต่อเข้ากับเครื่องอื่นก็เปรียบ เสมือนคนที่ชอบความสันโดษ ในการเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายนั้น เป็นสาเหตุที่เนื่องมาจากการที่ผู้ใช้ต้องการทำงานเป็นกลุ่มหรือทีม ซึ่งการทำงานแบบนี้ย่อมมีประสิทธิภาพมากกว่าการทำงานแบบเดี่ยว ๆ 



2. จงบอกความเป็นมาของการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย


ตอบ  อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย
การ เชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกำเนิดมาจากเครือข่าย คอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดัง กล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ.2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง ในปีถัดมา NECTEC ซึ่งอยู่ภายใต้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและการพลังงาน ( ชื่อเดิมในขณะนั้น ) ได้จัดสรรทุนดำเนินโครงการ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของสถาบันอุดมศึกษา โดยแบ่ง โครงการออกเป็น 2 ระยะ การดำเนินงานใน ระยะแรกเป็นการเชื่อมโยง 4 หน่วยงาน ได้แก่
- กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ 
- จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
- สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย 
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 
ระยะที่สองเป็นการเชื่อมต่อสถาบันอุดมศึกษาที่เหลือ คือ 
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
- มหาวิทยาลัยมหิดล 
- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช 
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตธนบุรี 
- สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยา เขตพระนครเหนือ 
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
- มหาวิทยาลัยขอนแก่น 
- มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่

เดือน ธันวาคม ปี พ.ศ. 2534 คณะทำงานของ NECTEC ร่วมกับกลุ่มอาจารย์และ นักวิจัยจากสถาบันอุดมศึกษาได้ก่อตั้งกลุ่ม NEWgroup ( NECTEC E-mail Working Group) เพื่อ ประสานงานและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารด้วย E-mail โดยยังคงอาศัยสถาบัน เทคโนโลยีแห่งเอเชียเป็นทางออกสู่อินเทอร์เน็ตผ่านทางออสเตรเลีย ปี พ.ศ.2538 รัฐบาลไทยได้ประกาศให้เป็นปีแห่งเทคโนโลยีสารสนเทศ(Information Technology Year ) เนื่องจากตระหนักถึงความสำคัญของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และการสื่อสารข้อมูลใน ขณะเดียวกันก็มีการดำเนินการจัดวางเครือข่ายความเร็วสูงโดยใช้ใยแก้วนำแสง เพื่อใช้เป็นสายสื่อสาร ไทยสาร เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่ "บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา" ภายใต้ข้อตกลงกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อร่วมใช้วงจรสื่อสาร จนกระทั่งในเดือนธันวาคมปีเดียวกันมีหน่วยงาน 6 แห่งที่ เชื่อมต่อแบบ On-lineโดยสมบูรณ์ ได้แก่ NECTEC ,จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เครือข่ายที่ก่อตั้งมี ชื่อว่า "ไทยสาร" ( Thaisarn : Thai Social/scientific ,Academic and Research Network ) หรือ "ไทยสารอินเทอร์เน็ต" ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่สารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2 วงจร ในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยังต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อ มากลุ่มสถาบันอุดมศึกษาประกอบด้วย สำนักวิทยบริการ จุฬาฯ ,สถาบันเทค- -โนโลยีแห่งเอเชีย,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญได้ร่วมตัวกันเพื่อแบ่งส่วนค่าใช้จ่ายวงจร สื่อสาร โดยเรียกชื่อกลุ่มว่า "ไทยเน็ต" ( THAInet ) สมาชิกส่วนใหญ่ของไทยสาร คือ สถาบันอุดมศึกษา กับหน่วยงานราชการบางหน่วย งาน และ NECTECยังเปิดโอกาสให้กับบุคลากรของหน่วยงานราชการที่ยังไม่มีเครือข่ายภาย ในเป็นของตัว เองมาขอใช้บริการได้ แต่ทว่ายังมีกลุ่มผู้ที่ต้องการใช้บริการอินเทอร์เน็ตอีกเป็นจำนวนมาก ทั้งบริษัทเอกชนและบุคคลทั่วไปซึ่งไม่สามารถใช้บริการ จากไทยสารอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้เพราะไทยสารเป็นเครือข่ายเพื่อการศึกษาและวิจัยที่ใช้เงินงบประมาณ อุดหนุนจากรัฐภาย ใต้ข้อบังคับของกฏหมายด้านการสื่อสารจึงไม่สามารถให้นิติบุคคลอื่นร่วมใช้ เครือข่ายได้

3. จงยกตัวอย่างองค์กรที่ให้บริการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในเชิงธุรกิจ มีอะไรบ้าง 
และมี URL ว่าอย่างไร



ตอบ  Ji-Net 

บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนต จำกัด 

บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนต จำกัด เป็นผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ (Internet Service Provider) ชั้นนำในประเทศ โดยการร่วมทุนของ บริษัท จัสมิน อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) กับบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) (กสท.) โดยใช้ชื่อบริการว่า “Ji-NET” โดยมีบริการประเภทต่าง ๆ เช่น การให้บริการอินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual), บริการอินเตอร์เน็ตสำหรับหน่วยงาน/องค์กร (Corporate), บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านวงจรคู่สายเช่า (Ji-NET Leased-Line Internet), บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Broadband Internet), การให้บริการรับฝากข้อมูล (Data Center), บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียม iPSTAR 

นอก จากนี้ บริษัทฯ ยังเป็นผู้ริเริ่มให้บริการ BranchConnext บริการเชื่อมโยงเครือข่ายองค์กรระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขา ด้วยโครงข่ายการสื่อสาร ADSL และเทคโนโลยีเครือข่ายส่วนบุคคล VPN เพื่อสร้างเสริมศักยภาพให้กับธุรกิจ โดยบริษัทได้รับความไว้วางใจและการยอมรับจากหลากหลายผู้นำทางธุรกิจ ลูกค้าที่บริษัทฯได้ให้บริการติดตั้งเครือข่ายไปแล้วได้แก่ MK Restaurant, เทเวศร์ประกันภัย, ปูนซีเมนต์, และ เชลล์ ออโต้เซิร์ฟ เป็นต้น 
http://www.ji-net.com/ 



4. จงบอกชื่อองค์กรที่รับผิดชอบในการบริหารและจัดการเครือข่ายอินเทอร์เน็ตว่าชื่ออะไรบ้าง และทำหน้าที่อะไร


ตอบ  ผู้ ให้บริการอินเทอร์เน็ต ISP (Internet Service Provider) เป็นผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตแก่ผู้ใช้บริการอินเทอร์เน็ต บริษัทผู้ติดตั้งอุปกรณ์ในประเทศไทย โดยการดำเนินการให้บริการดังกล่าว บริษัทต้องปฎิบัติตาม เงื่อนไขต่างๆที่กำหนดในสัญญา ตลอดจนปฎิบัติตามกฎหมายมติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง และ นโยบาย ของ กสท. 
ปัจจุบันนี้ ISP ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดดำเนินการได้ตามกฎหมายมี 20 ราย ตามรายชื่อต่อไปนี้ 

1. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) 
2. อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด 
3. แปซิฟิค อินเทอร์เน็ต ( เวิลด์เน็ท ) ( ประเทศไทย ) จำกัด 
4. จัสมินอินเทอร์เน็ต จำกัด 
5. เอ-เน็ต จำกัด 
6. อี-ซี่ เน็ท จำกัด 
7. สามารถอินโฟเน็ต จำกัด 
8. บริษัท อินเทอร์เน็ต เซอร์วิส โพรวายเดอร์ จำกัด 
9. ดาต้าลายไทย จำกัด 
10. ฟาร์อีสท์ อินเทอร์เน็ต จำกัด 
11. บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด 
12. เอเชียอินโฟเน็ต จำกัด Ltd. 
13. ริช คอมมูนิเคชั่นส์ เซอร์วิสเซส (ประเทศไทย ) 
14. เคเอสซี คอมเมอร์เชียล อินเทอร์เน็ต จำกัด 
15. ชมะนันทน์ เวิลด์เน็ท จำกัด 
16. บริษัท ทีทีแอนด์ที จำกัด (มหาชน) 
17. บริษัท โอทาโร จำกัด 
18. บริษัท โปรอิมเมจ เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอมมูนิเคชั่น จำกัด 
19. บริษัท KIRZ จำกัด 
20. บริษัท แอดวานซ์ ดาต้าเน็ทเวอร์ค คอมมิวนิเคชั่น จำกัด 
ตัวอย่าง

ไอเน็ต ผู้นำบริการด้วยความเชี่ยวชาญที่คุณมั่นใจ 

บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือไอเน็ต (INET) เป็นผู้นำการบริการทางไอซีที ที่ประสบความสำเร็จในด้านการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และบริหารเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ รวมทั้งบริการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบการชำระเงินออนไลน์ที่มีความปลอดภัยสูง แก่องค์กรธุรกิจและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ โดยมีการพัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านบริการไอที จึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งมียอดขายรวมกันถึงปีละ 1.5 ล้านล้านบาท 
ไอเน็ต ผู้นำบริการด้วยความเชี่ยวชาญที่คุณมั่นใจ 

บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) หรือไอเน็ต (INET) เป็นผู้นำการบริการทางไอซีที ที่ประสบความสำเร็จในด้านการให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง และบริหารเครือข่ายขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ รวมทั้งบริการระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ระบบการชำระเงินออนไลน์ที่มีความปลอดภัยสูง แก่องค์กรธุรกิจและผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วประเทศ โดยมีการพัฒนาบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้านบริการไอที จึงได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งมียอดขายรวมกันถึงปีละ 1.5 ล้านล้านบาท 

ANET 
บริษัท เอเน็ต จำกัด 
เอเน็ต ให้บริการเชื่อมต่อสู่อินเทอร์เน็ตโดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักคือ 
- บริการรายบุคคล 
เป็นบริการที่เหมาะกับสมาชิกรายบุคคล หรือ องค์กรขนาดย่อม 
- บริการระดับองค์กร 
เป็นบริการที่เหมาะสำหรับองค์กรระดับกลาง 
ขึ้นไป ซึ่งมีบริการอินเทอร์เน็ตให้แก่องค์กรต่างๆ 
โดยแบ่งการบริการเป็นแบบ Dial-in, ADSL, 
ISDNCorporate Leased Line 



5. จงบอกจุดมุ่งหมายของการใช้หมายเลข IP Address และชื่อโดเมน


ตอบ  IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด?ตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1? เป็นต้น

การ สื่อสารและรับส่งข้อมูลในระบบ Internet สิ่งสำคัญคือที่อยู่ของคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง ดังนั้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องแม่นยำ จึ่ง ได้มีการกำหนดหมายเลขประจำเครื่องที่เราเรียกว่า IP Address และเพื่อไม่ให้เกิดความสับสนและซ้ำกัน จึงได้มีการก่อตั้งองค์กรเพื่อ แจกจ่าย IP Address โดยเฉพาะ ชื่อองค์กรว่า InterNIC (International Network Information Center) อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา การแจกจ่ายนั้นทาง InterNIC จะแจกจ่ายเฉพาะ Network Address ให้แต่ละเครือข่าย ส่วนลูกข่ายของเครือง ทางเครือข่ายนั้นก็จะเป็น ผู้แจกจ่ายอีกทอดหนึ่ง 

แบบฝึกหัดท้ายบทีที่4


แบบฝึกหัดท้ายบทที่ 4
1.จงบอกองค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์และหน้าที่ของแต่ละองค์ประกอบ
ตอบ = องค์ประกอบของการสื่อสารข้อมูล
การสื่อสารข้อมูลมีองค์ประกอบ 5 อย่าง (ดังรูป) ได้แก่

1. ผู้ส่ง (Sender) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีโอ เป็นต้น
2. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
3. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
4. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5รูปแบบ ดังนี้
4.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี เป็นต้น 
4.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
4.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
4.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
4.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่ง สามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว ในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงาน ในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น X.25, SDLC, HDLC, และ TCP/IP เป็นต้น


2.จงเปรียบเทียบความแตกต่างของสัญญาณอนาล็อก กับสัญญาณดิจิตอล

ตอบ= สัญญาณ อนาลอก (Analog Signal) หมายถึงสัญญาณข้อมูลแบบต่อเนื่อง (Continuouse Data) มีขนาดของสัญญาณไม่คงที่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณแบบค่อยเป็นค่อยไป กล่าวคือต้องแปรผันตามเวลา โดยทั่วไปคือสัญญาณที่มนุษย์สามารถสัมผัสได้ เช่น แรงดันของน้ำ ค่าของอุณหภูมิ หรือความเร็วของรถยนต์ เป็นต้น สัญญาณดิจิตัล (Digital Signal) หมายถึงสัญญาณข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Data) มีขนาดของสัญญาณคงที่ การเปลี่ยนแปลงขนาดของสัญญาณเป็นแบบทันที ทันใด กล่าวคือ ไม่แปรผันตามเวลา โดยทั่วไปคือสัญญาณที่มนุษย์ไม่สามารถสัมผัสได้ เช่น สัญญาณไฟฟ้า เป็นต้น
3.จงบอกทิศทางของการสื่อสารข้อมูลว่ามีกี่แบบ อะไรบ้างพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
ตอบ=3 แบบ คือ
1. แบบทิศทางเดียว 
2. แบบกึ่งสองทิศทาง 
3. แบบสองทิศทาง 

4.จงบอกคุณสมบัติของสายสัญญาณว่ามีกี่ชนิดอะไรบ้าง พร้อมให้จัดลำดับสายสัญญาณที่มีคุณภาพจากสูงไปต่ำ

ตอบ=แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทดังนี้ 
(1) สายสายโคแอ็กเซียล (Coaxial Cable)เป็นสายสัญญาณประเภทแรกที่ใช้ และนิยมมากในครือข่ายคอมพิวเตอร์สมัยแรกๆ แต่ในปัจจุบันเครือข่ายส่วนใหญ่จะใช้สายคู่เกลียวบิตและสายใยแก้วนำแสง สายโคแอ็กซ์
สายโคแอ็กเซียล (Coaxial Cable) เรียกสั้นๆว่าสาย (Coax) จะมีตัวนำไฟฟ้าอยู่สองส่วน คำว่า โคแอ็กซ์ มีความหมายว่า “มีแกนร่วมกัน” ซึ่งชื่อก็บอกความหมายว่าตัวนำทั้งสองตัวมีแกนฉนวน ชั้นต่อมาจะเป็นตัวนำไฟฟ้าอีกชั้นหนึ่ง ซึ่งจะเป็นแผ่นโลหะบางๆ หรืออาจจะเป็นใยโลหะที่ถักเปียหุ้มชั้นหนึ่ง สุดท้ายก็หุ้มด้วยฉนวนและวัสดุป้องกันสายสัญญาณ รูปที่ 2.13 แสดงโครงสร้างของสายโคแอ็กเซียล โดยทั่วๆไป
(2) สายคู่เกลียวบิต (Twisted Pairs) เมื่อก่อนเป็นสายสัญญาณที่ใช้ในระบบโทรศัพท์ แต่ปัจจุบันได้กลายเป็นมาตรฐานสัญญาณที่เชื่อมต่อในเครือข่ายแบบท้องถิ่น (LAN) สายคู่เกลียวบิตหนึ่งคู่ประกอบด้วยสายทองแดงขนาดเล็กเส้นผ่านศูนย์กลาง ประมาณ 0.016-0.035 นิ้ว หุ้มด้วยฉนวนบิตเป็นเกลียวเป็นคู่ การบิตเป็นเกลียวของสายแต่ละคู่เพื่อช่วยลดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ารบกวนซึ่งกัน และกัน
5.จงบอกหน้าที่ของอุปกรณ์เครือข่ายต่อไปนี้

ตอบ 5.1 Repeater
=Repeater เป็นอุปกรณ์ ทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่าง Segment ของสายสัญญาณ LAN เข้าจังหวะและสร้างสัญญาณ Digital บนสายสัญญาณขึ้นใหม่ และส่งออกไป
5.2 Bridge
=Bridge ใช้เพื่อยืดระยะเครือข่าย และแบ่งแยกการจราจรของข้อมูลใน Segment โดย Bridge ส่งต่อการจราจรของข้อมูลจากระบบสายสัญญาณหนึ่ง ก็ต่อเมื่อมี Address ปลายทาง ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์บนระบบสายสัญญาณอีกเส้น ดังนั้นจึงเป็นการจำกัดการจราจรของข้อมูลที่ไม่จำเป็นบนทั้งสองระบบ
5.3 Switch
=Switch มีหน้าที่ในการส่งข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง โดยมีหลักการทำงานดังนี้ เมื่อคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมต่อกับ Switch ใน Port ที่ 1 ต้องการติดต่อกับคอมพิวเตอร์ใดๆ ในเครือข่ายแล้วนั้น คอมพิวเตอร์ตัวแรกก็จะสร้าง Frame ของข้อมูลขึ้นมาโดยจะประกอบด้วย MAC Address, IP Address ของตัวมันเอง ซึ่งเป็นผู้ส่งและ IP Address ของปลายทางคือคอมพิวเตอร์ที่ต้องการติดต่อ แต่จะยังไม่มี MAC Address ของคอมพิวเตอร์ปลายทาง นำมาประกอบกันเป็น Frame ต่อจากนั้นจะใช้ Protocol ARP ที่มีอยู่ใน Protocol TCP/IP ในการค้นหา MAC Address ของ คอมพิวเตอร์ปลายทาง ที่มันต้องการจะติดต่อด้วย โดย Protocol ARP จะทำการ Broadcast Frame นี้ไปยังทุก Port ของ Switch เรียกว่า ARP Request เมื่อคอมพิวเตอร์ที่มี IP Address ตรงกับ IP Address ที่ต้องการติดต่อทราบ ก็จะตอบกลับว่านี่เป็น IP Address ของฉัน ก็คือคอมพิวเตอร์ปลายทางที่ต้องการติดต่อ มันจะตอบกลับพร้อมกับใส่ค่า MAC Address ของมันลง ใน ARP Reply ในแบบ Broadcast ด้วย ซึ่งจะทำให้ Switch รับทราบด้วย ต่อจากนั้น Switch ก็จะทำการ Forward ข้อมูลต่างๆ ไปยัง Port ที่เป็นที่อยู่ของคอมพิวเตอร์ทั้งสองได้อย่างถูกต้อง และ Switch จะยังเก็บเอาข้อมูลของ Mac Address ต้นทางของทั้งสองเอาไว้ในตาราง Source Address Table ( SAT ) เพื่อเก็บเอาข้อมูล MAC Address กับ Port ที่ติดต่อไว้ใช้ในการสื่อสารที่จะเกิดขึ้นต่อไป
5.4 Gateway
เป็นจุดต่อเชื่อมของเครือข่ายทำหน้าที่เป็นทางเข้าสู่ระบบเครือข่ายต่าง ๆ บนอินเตอร์เน็ต ในความหมายของ router ระบบเครือข่ายประกอบด้วย node ของ gateway และ node ของ host เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ในเครือข่าย และคอมพิวเตอร์ที่เครื่องแม่ข่ายมีฐานะเป็น node แบบ host ส่วนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการจราจรภายในเครือข่าย หรือผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต คือ node แบบ gatewayในระบบเครือข่ายของหน่วยธุรกิจ เครื่องแม่ข่ายที่เป็น node แบบ gateway มักจะทำหน้าที่เป็นเครื่องแม่ข่ายแบบ proxy และเครื่องแม่ข่ายแบบ firewall นอกจากนี้ gateway ยังรวมถึง router และ switch

6.จงเปรียบเทียบข้อดี ข้อจำกัดของโทโพโลยีในการเชื่อมต่อเครือข่ายแบบบัส ( Bus ) กับแบบ
วงแหวน ( Ring)

ตอบ=เครือข่ายแบบบัส (Bus Topology)
ข้อดี คือ สามารถจัดการได้ทั้งเครือข่ายแบบ client/server และแบบ peer-to-peer
ข้อจำกัด คือ จำเป็นต้องใช้วงจรสื่อสารและซอฟต์แวร์เข้ามาช่วยเพื่อหลีกเลี่ยงการชนกันของ สัญญาณข้อมูล และถ้ามีอุปกรณ์ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อาจส่งผลให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้
เครือข่ายแบบวงแหวน (Ring Topology)
• ข้อดี ข่าวสารจะเคลื่อนที่เป็นลำดับไปในทิศทางเดียว ขจัดปัญหาการชนกันของสัญญาณ
ข้อจำกัด ถ้าเครื่องใดเครื่องหนึ่งในเครือข่ายเสียหาย อาจทำให้ทั้งระบบหยุดทำงานได้ 

7. จงอธิบายความแตกต่างระหว่างเครือข่ายในระดับกายภาพ ( Physical level ) และระดับตรรก 
(Logical level )
การรับ-ส่งข้อมูลในระดับกายภาพ

ตอบ=เครือข่ายส่วนใหญ่ที่พบเห็นกัน จะใช้สายเคเบิลเส้นทางให้ข้อมูลวิ่งผ่านไปผ่านมา เนื่องจากมีราคาไม่แพง ติดตั้งง่าย และมีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลสูง
แต่บางครั้งก็อาจจะมีการผสมผสานสื่อบางตัวเข้าไปในระบบด้วย เช่น คลื่นวิทยุ เพื่อแก้ไขปัญหาจุดที่อาจเชื่อมต่อด้วยสายเคเบิลได้ลำบาก
ระดับตรรก
โครงสร้างเครือข่ายระดับตรรกเป็นการมองที่วิธีการวิ่ง ของข้อมูลภายในเครือข่ายว่าเป็นอย่างไร โครงสร้างเครือข่ายระดับตรรกแบบหนึ่งอาจจะรับ-ส่งไฟล์ขนาดใหญ่ได้ดี แต่อีกแบบหนึ่งอาจจะเหมาะในการรับ-ส่งไฟล์ขนาดเล็กที่วิ่งไปมาบ่อยๆ ได้ดี
8.จงอธิบายความแตกต่างของลักษณะการให้บริการเครือข่ายแบบ Peer-to-Peer และ
แบบ Client-Server

ตอบ=Peer-to-peer (P2P) เป็นเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบ client-client โดยที่ client แต่ละเครื่องมีข้อมูลเก็บอยู่ และสามารถจำลองตนเองเป็น server เพื่อเปิดให้ client เครื่องอื่นๆ สามารถเข้ามาโหลดข้อมูลจากเครื่องของตนเองได้โดยอาศัยพลังงานและ bandwidth ที่เครื่องตนเองมี ซึ่งจะแตกต่างกับการสื่อสารแบบ client-server ที่มี server เก็บข้อมูลไว้เพียงเครื่องเดียว และเปิดให้ client เครื่องอื่นเข้ามาโหลดข้อมูล
ระบบเครือข่ายแบบนี้จะมีคอมพิวเตอร์หลักอยู่หนึ่งเครื่อง เรียกว่า เซิร์ฟเวอร์ (server) หรือ เครื่องแม่ข่าย ทำหน้าที่เก็บข้อมูล โปรแกรม และแชร์ไฟล์หรือโปรแกรมนั้นให้กับเครื่องลูกข่าย อีกทั้งยังทำหน้าที่ประมวลผล และส่งผลลัพธ์ที่ได้ไปให้เครื่องลูกข่าย ซึ่งเป็นเสมือนเครื่องให้บริการเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นในเครือข่ายที่ร้องขอ เข้ามา รวมทั้งเป็นยังผู้จัดการดูแลการจราจรในระบบเครือข่ายทั้งหมด
เครื่อง คอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย จะสามารถเข้าใช้งานไฟล์ต่าง ๆ ในเซิร์ฟเวอร์ได้ แต่ไม่สามารถเข้าใช้งานไฟล์ในเครื่องอื่นๆ ได้ นั่นคือการติดต่อกันระหว่างเครื่องต่างๆ จะต้องผ่านเครื่องเซิร์ฟเวอร์ เครื่องผู้ใช้จะทำการประมวลผลในงานของตนเท่านั้น ไม่มีหน้าที่ในการให้บริการกับเครื่องอื่นๆ ในระบบ
เซิร์ฟเวอร์จะต้องมีหน่วยความจำสำรอง (harddisk) ขนาดใหญ่เพื่อเก็บข้อมูลทั้งหมด และควรเป็นเครื่องที่มีสมรรถนะสูง ชนิดของเซิร์ฟเวอร์มีได้ 2 รูปแบบคือ
(1) Dedicated server หมาย ถึง เซิร์ฟเวอร์ที่ทำหน้าที่บริการอย่างเดียวเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในงานทั่วๆ ไปได้ ข้อดีคือทำให้ระบบมีเสถียรภาพและมีประสิทธิภาพสูง ข้อเสียคือไม่สามารถใช้งานเครื่องเซิร์ฟเวอร์ ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงได้
(2) Non-dedicated server หมาย ถึง เซิร์ฟเวอร์ที่สามารถใช้งานได้ตามปกติเหมือนเครื่องลูกข่าย ซึ่งมีข้อเสียที่สำคัญคือประสิทธิภาพของเครือข่ายจะลดลง ทำให้วิธีนี้ไม่เป็นที่นิยมในการใช้งาน

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

แบบฝึกหัดบทที่3


แบบฝึกหัดบทที่3

                           แบบฝึกหัดบทที่3

ความรู้เรื่องไฮเปอร์มีเดีย

1. งานของไฮเปอร์มีเดีย
    1.1 การสืบค้น (Browsing) ใช้เป็นเครื่องมือในการค้นหาหรือสืบไปในข้อมูลสารสนเทศหรือบท เรียนต่างๆ โดยผู้ใช้สามารถ สำรวจเลือกเส้นทางวิธีการขั้นตอนการเรียนรู้ตามความพอใจหรือตามแบบการเรียน (Leaning-Style) ของแต่ละคน ทั้งนี้เป็นไป ภายใต้เงื่อนไขที่โปรแกรมหรือบทเรียน ไฮเปอร์มีเดียกำหนดไว้
   1.2 การเชื่อมโยง (Linking) ผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงไปยัง แฟ้มข้อมูลต่างๆ ภายในระบบเดียวกัน ตลอดจนการเชื่อมต่อไปยัง เครือข่ายภายนอก เช่นการเชื่อมต่อเข้ากับอินทราเน็ต (Intranet) อินเตอร์เน็ต (Internrt) เป็นต้น
    1.3 สร้างบทเรียน (Authoring) หรือสร้างโปรแกรมการนำเสนอรายงานสารสนเทศต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมที่มีลักษณะ พิเศษ น่าสนใจเนื่องจากสามารถแสดงให้เห็นทั้งข้อความ รูปภาพ เสียง และการเคลื่อนไหวดังกล่าวมาแล้ว การสร้างบทเรียนแบบ ไฮเปอร์มีเดียโดยทั่วไป ปัจจุบันอาศัยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Software) สำหรับการสร้างโดยเฉพาะ ซึ่งมีใช้กันอยู่หลายโปรแกรม เช่น Hypercard,Hyper Studio,Authoware,Tooolbook,Linkway,Micro Wold, Dreamweaver PowerPoint  เป็นต้น สำหรับโปรแกรมที่นิยมใช้ ในประเทศไทย ได้แก่ Authoware,Toolbook Dreamweaver PowerPoint

2. ข้อมูลไฮเปอร์มีเดีย
    เป็นการใช้คอมพิวเตอร์นำเสนอข้อมูลหรือเนื้อหาความรู้ต่างๆ ทั้งในรูปของ ข้อความ เสียง ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว โดยผู้ใช้สามารถเชื่อมโยงไปมาระหว่างส่วนต่างๆ ของบทเรียนได้อย่างรวดเร็วตามต้องการ ไฮเปอร์มีเดียเป็นการขยายแนวความคิดมาจากไฮเปอร์เทกซ์ อันเป็นผลมาจากพัฒนาการของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ ที่สามารถประสมประสานสื่อหรืออุปกรณ์หลายอย่าง(Multiple media) ให้ทำงานไปด้วยกันซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ดังกล่าวโดยทั่วไปนิยมเรียกว่า มัลติมีเดีย (Multimedia)

3. โปรแกรมงานไฮเปอร์มีเดีย

   การจัดทำสื่อหลายมิติ จัดทำโดยใช้กระบวนการของสื่อประสมในการผลิตเรื่องราวและบทเรียนต่าง ๆ ในรูปลักษณะและวิธีการของข้อความหลายมิติ นั่นเอง โดยการใช้คอมพิวเตอร์เป็นศูนย์ กลางการเขียนเรื่องราว ซึ่งมีโปรแกรมที่นิยมใช้ หลายโปรแกรมแต่ที่รู้จักกันดี เช่น ToolBook AuthorWare Dreamweaver PowerPoint เป็นต้น
                                     
4. โปรแกรม Toolbook ของไฮเปอร์มีเดีย 

     โปรแกรม Asymetrix Toolbook II เป็น โปรแกรมที่ได้รับความนิยมทั้งในและต่างประเทศ สามารถใช้ภาพ เสียง ตัวอักษร และการเคลื่อนไหวได้อย่างสมบูรณ์ มีโปรแกรมบันทึกและตัดต่อเสียง ให้มาพร้อมกับโปรแกรมหลัก เหมาะสำหรับการสร้างงานแบบไฮเปอร์มีเดีย เช่น บทเรียน คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) หรือการนำเสนอสารสนทเศต่างๆ ตั้งแต่ระดับง่ายๆ ไปจนถึงงานที่ซับซ้อน แนวคิดพื้นฐานของ Toolbook พอสรุปได้ดังนี้
1. งานของ Toolbook เปรียบเสมือนหนังสือ (Books) ซึ่งหนังสือเล่มหนึ่งๆ ประกอบด้วยหน้าหนังสือหลายๆ หน้า และหน้า หนังสือประกอบไปด้วยพื้นหลัง (Background) และหน้า (Page) หรือพื้นหน้า (Foreground) ซึ่งพื้นหน้าของหน้าหนึ่งๆ มีลักษณะ เหมือนแผ่นพลาสติกโปร่งใส ซ้อนกันหลายๆ แผ่น
2. เป็นโปรแกรมเชิงวัตถุ (Object Oriented) ซึ่งหมายความว่าการสร้าง จะต้องสร้างวัตถุต่างๆ และนำมาประกอบกัน วัตถุของ Toolbook ประกอบด้วย หน้า(Page) พื้นหน้า (Foreground) พื้นหลัง (Background) โดยหน้าทั้งหทดที่สร้างขึ้นจะรวมกันเป็น หนังสือ (Book) นอกจากนี้วัตถุแต่ละตัวจะมีการทำงานที่เป็นอิสระต่อกัน โดยแต่ละตัวมีคุณสมบัติเฉพาะตัว (Properties) ให้ผู้สร้างสามารถปรับแต่งคุณสมบัติต่างๆ ได้ตามเหมาะสม
3. โปรแกรมกระตุ้นโดยเหตุการณ์ (Event-Driven Program) คือโปรแกรมจะทำงานหรือเกิดการกระทำ (Action)ใดๆ ขึ้นนั้น จะต้องมีเหตุการณ์ (Event) ใดเหตุการณ์หนึ่ง เกิดขึ้นก่อนเป็นตัวเริ่มต้น เช่น เมื่อผู้ใช้กดปุ่ม คลิกเมาส์ หรือเปิกหน้าใหม่ เป็นต้น โดยผู้สร้างสามารถกำหนดสคริปต์เพื่อให้วัตถุต่างๆ หรือแม้แต่ข้อความ ให้ทำงานตามอย่างหนึ่งอย่างใดตามที่ผู้สร้างต้องการ
4. ใช้สคิปต์ (Open Script Programming Language) คือ การเขียนโปรแกรมให้ทำงานตามคำสั่ง สคริปต์ที่ใช้เป็นภาษา อังกฤษที่เข้าใจง่าย ซึ่งการเขียนสคริปต์ใน Toolbook นั้น มีตั้งแต่คำสั่งขั้นพื้นฐาน จนถึงชุดคำสั่งที่ค่อนข้างสลับซับซ้อน
5. ปรับเปลี่ยนสถานะไปมาระหว่างสถานะผู้สร้าง (Author) และ สถานะผู้ใช้ (Reader) ได้ทันที ดังนั้นในการสร้างงาน จึงสามารถตรวจสอบการทำงานไปพร้อมกันในขณะที่สร้าง